วิธีการจัดการกับความวิตกกังวล

                                                                                                                              วิธีจัดการกับความวิตกกังวล

     คุณเคยอยู่ในสภาวะ เหงื่อชุ่มตัว หัวใจเต้นเร็วและหายใจถี่ๆ บ้างไหม? คุณอาจไม่ได้มีอาการโรคหัวใจแต่เป็นอาการของความวิตกกังวล หากคุณกำลังประสบกับภาวะความวิตกกังวล การเรียนรู้วิธีการจัดการกับมัน เป็นขั้นตอนแรกที่จะสามารถเอาชนะมันได้

     ความวิตกกังวลเป็นลักษณะปฏิกิริยาที่เกิดจากความกลัว เช่นเมื่อมีใครตามหลังคุณ ในตรอกมืดๆ ความวิตกกังวลเหล่านั้นทำให้เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและเหงื่อออกเต็มฝ่า มือ อาการเหล่านี้ทำให้สารอะดรีนาลีนหลั่งออกมาเพื่อช่วยรักษาชีวิตของคุณ ซึ่งอาการนี้เรียกว่า อาการตอบสนองความเครียดเฉียบพลัน

     ในกรณีที่มีความวิตกกังวลเกิดขึ้นบ่อยๆ ความรู้สึกหวาดกลัวนั้นเป็นอาการตกอยู่ในความหวาด

 

     กลัวของสถานการณ์เฉพาะ ไม่ใช่ตัวสถานการณ์นั้น (เช่น การที่คุณรู้สึกหวาดกลัวแม่ของคุณ จะแตกต่างจากอาการหวาดกลัวที่คุณเห็น อุบัติเหตุ) คุณอาจเกิดความวิตกกังวลว่าคุณจะไปทำงานสายเนื่องจากรถติด ความรู้สึกวิตกกังวลจากการเริ่มงานใหม่ เพราะว่าคุณไม่รู้จักใครเลยและ ความกลัวที่คุณไม่รู้จักใครสามารถส่งผลให้คุณเกิดอาการตกใจ

 

     สถานการณ์ต่างๆอาจนำความวิตกกังวลแต่ก็ไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต หากไม่จัดการขจัดความวิตกกังวลนี้ออกไปอาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้า

     หากคุณรู้สึกทรมานจากความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นหรือความกังวลที่ติดค้างคา ใจอยู่ตลอดเวลา มีวิธีการที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อควบคุมความวิตกกังวล

1. พบผู้เชี่ยวชาญ เป็นสิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ หากคุณวินิจฉัยตามอาการด้วยตัวคุณเองอาจเป็นอันตรายได้ นักจิตวิทยามืออาชีพสามารถช่วยให้คุณเข้าใจความกังวลที่เกิดขึ้นและอาจให้ยา ในการรักษาหรืออาจใช้เทคนิคที่มีประสิทธิภาพอื่นๆ

2. การนอนหลับ ระหว่างที่คุณกำลังหลับ ร่างกายจะมีการซ่อมแซม คุณจะรู้สึกสดชื่นหลังจากการนอนหลับหลายชั่วโมง คนส่วนใหญ่ต้องการนอนหลับ 8 ชั่วโมงต่อคืน

3. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยให้คุณสามารถใช้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ออกซิเจนที่ได้รับจะส่งไปยังสมอง เมื่อสมองทำงานได้เต็มที่ก็ทำให้สามารถคิดแก้ปัญหาได้แทนที่คิดวิตกกังวล

4. การทำสมาธิ การสวดมนต์สามารถใช้เป็นวิธีการทำสมาธิเช่นกัน โยคะคือการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับการทำจิตใจให้สงบและควบคุมการหายใจ ทำสมาธิครั้งละ 5 นาทีเพื่อล้างความคิดทุกๆวัน การทำสมาธิสามารถต่อสู้กับความวิตกกังวลได้

5. จัดการกับความวิตกกังวล เมื่อคุณรู้สึกว่าชีพจรเริ่มที่จะเต้นแรงขึ้น ให้นับถอยหลังจากสิบ เพราะการที่คุณนับเลข คุณมุ่งความสนใจกับการนับเลขนั้น เมื่อคลายความกังวลก็สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น

6. ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ คุณอาจจะคิดว่าไวน์หนึ่งแก้วสามารถผ่อนคลายความตึงเครียด แต่แอลกอฮอล์ทำให้หดหู่ หากคุณอยู่ในสภาวะตึงเครียดอยู่แล้ว ก็ไม่สมควรดื่มแอลกอฮอล์ไปเพิ่มภาวะตึงเครียดอีก

7. หากิจกรรมผ่อนคลายบาง เมื่อคุณมีความเครียด พลังงานของคุณก็ถูกใช้ไปมากขึ้น ทำกิจกรรมต่างๆที่ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย เช่น ทำสวน วาดภาพ อ่านหนังสือหรือฟังเพลง

     ความวิตกกังวลสามารถเข้ามาในชีวิตของคุณได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่ปกติ แต่เมื่อคุณเกิดความกังวลบ่อยๆ อาจกลายเป็นภาวะความเสี่ยง

     ถ้าความวิตกกังวลของคุณเริ่มกินเวลานานขึ้นหรือเพิ่มมากขึ้น อาจกลายเป็นปัญหา หากเป็นเช่นนี้คุณต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที อย่าทนอยู่กับสภาวะนั้น

 

ขอขอบคุณ    http://khwankamone.com/

Visitors: 309,319