สถานการณ์ยาเสพติดและแนวโน้มประกอบการพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

สถานการณ์ยาเสพติดและแนวโน้ม

ประกอบการพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

 

สรุปสาระสำคัญและแนวโน้ม

 

  • สถานการณ์การนำเข้า

 

                - พื้นที่ 3 จชน. เป็นพื้นที่หลักที่มีการลักลอบนำเข้ายาเสพติดมาโดยตลอดและคาดว่าจะยังคงเป็นพื้นที่หลักต่อไปในอนาคต แต่การที่ สปป.ลาว มีการเปิดบ่อนคาสิโน ซึ่งจากการข่าวระบุว่าเป็นพื้นที่ที่เอื้อในการติดต่อซื้อขายรวมทั้งเป็นพื้นที่พักยาเสพติด โครงการเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 3 และแห่งที่ 4 ที่ล้วนเอื้อต่อการลักลอบนำเข้า  ดังนั้นพื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นพื้นที่สำคัญที่ต้องเผ้าระวังอย่างใกล้ชิดคือ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ จ.เชียงราย และในพื้นที่ใน จ.นครพนม

 

                - ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ผลจากการจับกุมพบว่ากลุ่มผู้ผลิต / นักค้ารายสำคัญในพม่ามักจะมีการว่าจ้างชนกลุ่มน้อยเป็นผู้ลำเลียงยาเสพติดเข้ามาภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มมูเซอและกลุ่มม้ง และในปัจจุบันพบว่ากลุ่มม้งและมูเซอที่มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทั้งประเทศไทยและพม่า มีมากกว่า 3 แสนคน ดังนั้นหากไม่สามารถใช้เวทีต่างประเทศในการร่วมมือแก้ไขปัญหาหรือไม่สามารถใช้งานมวลชนในหมู่บ้านเครือข่ายได้ ทั้ง 2 กลุ่มจะเป็นตัวจักรสำคัญต่อปัญหายาเสพติดภายในประเทศ

 

  • สถานการณ์การค้าและการแพร่ระบาด

 

                - สถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทย นอกจากนักค้าชาวไทยยังมีกลุ่มนักค้าชาวต่างประเทศที่ถือเป็นตัวจักรสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มชาวแอฟริกันตะวันตก เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในช่วง 2 - 3 ปีหลังปรากฏชาวอิหร่านถูกจับด้วยคดียาเสพติดที่มีแนวโน้มสูงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ปัจจุบันพบว่าเครือข่ายชาวแอฟริกันตะวันตก มีเครือข่ายการค้าอยู่ในทุกทวีปทั่วโลก ซึ่งจากการข่าวระบุว่าประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งของเครือข่ายนี้ในการที่จะใช้เป็นฐานทางการค้า เนื่องจากประเทศไทยมีปัจจัยที่เอื้อในหลายๆ ด้านได้แก่สามารถหายาเสพติดได้ง่าย เป็นศูนย์กลางคมนาคม หาคนลำเลียงได้ง่ายรวมทั้งค่าครองชีพไม่แพง ในส่วนของชาวอิหร่าน ได้รับการบอยคอตทางการค้าทั้งจากอเมริกาและยุโรป ในเรื่องปัญหานิวเคลียร์ทำให้ประชาชนมีความยากจน และการที่อิหร่านมีโรงงานผลิตซูโดอีเฟดรีนภายในประเทศ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้คาดว่า ทั้งชาวแอฟริกันตะวันตกและกลุ่มชาวอิหร่าน จะยังเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้ายาเสพติดในประเทศไทยกลุ่ม

 

               - ผู้เกี่ยวข้องรายใหม่ยังคงมีสัดส่วนสูงทั้งในกลุ่มผู้ค้าและกลุ่มผู้เสพ การที่มีผู้เกี่ยวข้องรายใหม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติด มีสาเหตุจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภาวะการว่างงาน การมีค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อรักความสะดวกสบาย การอยุ่ในครอบครัวที่มีคนในครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาชนที่มีอายุ 15 - 19 ปีและอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่พบแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั้งที่อยู่นอกระบบการศึกษาและในระบบการศึกษาเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งกระบวนการป้องกันจำเป็นจะต้องดำเนินการอยางครอบคลุมและเข้มข้น

 

               - ยังคงมีกลุ่มผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งเป็นผุ้ดำเนินการเองหรือเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุน ทำให้การสืบสวนปราบปรามมีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างยากลำบาก นักค้ารายสำคัญทั้งที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำหรืออยู่นอกเรือนจำ ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสั่งการค้ายาเสพติด

 

              - การพัฒนาในด้านข้อมูลข่าวสารอย่างไร้พรมแดนโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีส่วนสำคัญต่อการแพร่กระจายของยาเสพติด เห็นได้จากการจับกุมคดีผลิตไอซ์ในช่วงปี 2552 - 2553 ที่ผู้ต้องหาระบุว่าได้เรียนรู้วิธีการผลิตและสั่งซื้อสารตั้งต้น จากทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีหลาย Website ที่มีการโฆษณาเชิญชวนและจำหน่วยยาเสพติด เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างใกล้ชิด

 

              - ในด้านตัวยาที่แพร่ระบาด ยาบ้ายังคงเป็นตัวยาที่มีความสำคัญในการแพร่ระบาดภายในประเทศ  โดยมีไอซืที่จะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เนื่องจากนักค้าพยายามที่จะใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเหมือนที่เคยใช้กับยาบ้าเช่น การแบ่งบรรจุในราคาต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในระดับกลางและระดับล่าง การโฆษณาช่วยเชื่อถึงสรรพคุณเน้นในเรื่องของความสวยความงามและในเรื่องเพศ ทำให้ตัวยานี้ประสบความสำเร็จในการขายฐานลูกค้าในช่วงเวลาไม่นานนัก ปรากฏผลการจับกุมและการเข้าบำบัดรักษาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ขณะเดียวกันเฮโรอีนก็เป็นตัวยาที่ไม่สามารถนิ่งนอนใจเพราะที่ผ่านมายังปรากฎผู้ต้องหาและผู้เข้าบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนพืชพื้นบ้านอย่างกระท่อม รวมทั้งน้ำต้มกระท่อม ได้พบการกระจายสู่ภูมิภาคอื่นๆ เพิ่มขึ้นทั้งที่แต่เดิมเป็นสิ่งเสพติดประจำภาคใต้เท่านั้นสำหรับยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน เนื่องจากความต้องการยาบ้าและไอซ์ของผู้ซื้อยังอยู่ในเกณฑ์ประกอบกับมีความเข้มงวดในการควบคุมอีเฟดรีนทั้งในประเทศไทย จีน และอินเดีย จะทำให้สถารการณ์การกว้านซื้อยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านยังคงดำรงอยู่

 

              - ในเรื่องประสิทธิผลของการบำบัดรักษาจากข้อมูลการบำบัดรักษาพบว่าผู้เข้ารับการบำบัดรักษามีถึงประมาณร้อยละ 70 ที่บอกว่าหลังจากการบำบัดรักษาแล้วสามารถอดยาได้ไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งสัดส่วนนี้ค่อนข้างคงที่แม้จะศึกษาย้อนหลังในช่วง 5 ปี สิ่งที่พบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาผลที่เกิดขั้นได้พียงจำนวนปริมาณแต่ในด้านคุณภาพอาจจะต้องมีการพิจารณาทบทวนถึงปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ไขให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

 

  • แนวโน้มในอนาคต

    

     จากปัจจัยจากประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวข้างต้นประกอบกับมีการคาดการณ์ว่า

 

1. วิกฤติเศรษฐกิจโลกทั้งที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและยุโรป คาดวาจะยังมีปัญหาอยู่แม้จะมีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง การถมเงินเข้าสู่ระบบทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะมีการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนส่วนหนึ่งเข้ามายังภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจดีเพื่อเก็งกำไร ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่จะได้รับผบกระทบนี้ ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เงินบาทแข็งคู่ขึ้น กระทบต่อการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศลดลง นอกจากนี้การที่ประเทศเหล่านี้ยังไม่สามารถหลุดพ้นวิกฤติเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ทำให้โอกาสการลงทุน การจ้างงาน การท่องเที่ยว ในประเทศได้รับผลกระทบไปด้วย

 

2. แม้ว่าการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปี 2554 จะไม่แตกต่างจากปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 3.5-4.5 ขณะเดียวกันการคาดการณ์ก็ชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อก็จะสูงขึ้น เช่นเดียวกันอยู่ที่ร้อยละ 3 - 4 ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้การว่างงาน และความยากจนยังคงดำรงอยู่

 

3. ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปี 2554 เป็นปีที่รัฐบาลปัจจุบันจะหมดวาระและจะมีการเลือกตั้งใหญ่ แต่หากการขัดแย้งในสังคมยังไม่ยุติมีการวมตัวประท้วงอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ต่างชาติเกิดความไม่แน่ใจในบรรยากาศการลงทุน เกิดความไม่ปลอดภัยที่จะมาท่องเที่ยวซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชนระยะยาว

 

4. ผลจากการสำรวจเพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดและผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประเทศไทยเข้มแข็งชนะยาเสพติดยั่งยืนภายใต้ยุทะศาสตร์ 5 รั้วป้องกันระยะที่ 2 ของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อเดือนกันยายน 2553 พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อปัญหายาเสพติดหลายปัจจัยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของสถานบันเทิงที่เปิด - ปิด เกินเวลา การอนุญาติให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าสถานบันเทิง การมั่วสุมในที่สาธารณะ การมั่วสุมยาเสพติดในร้านเกมส์ ขณะเดียวกัน รายงานสถารการณ์ครอบครัวเข้มแข็งของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าในปี 2552 มีครอบครัวที่ไม่ผ่านครอบครัวเข้มแข็งมีสูงถึงร้อยละ 57

 

5. การสำรวจภาวะการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 พบว่าอัตราการว่างงานในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 1 (จำนวน 3.89 แสนคน) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 อัตราไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ตุลาคม 2553 ปรากฏว่ามีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ ร้อยละ 3.6 คาดว่าในปี 2554 อัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 - 1.3

 

6. ผลการศึกษาของโครงการ Child Watch สามารถประมาณการได้ว่าในจำนวนกลุ่มเด็กอายุ 7 - 19 ปีจำนวนประมาณ 12 ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นผู้เสพรายใหม่สูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ มีถึงร้อยละ 43 ที่เป็นกลุ่มที่เสี่ยงสูง ขณะเดียวกันศูนย์วิจัยความสุขชุมชนมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ที่ได้ทำการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553 ประมาณการว่ามีเด็กนักเรียน / นักศึกษาใช้ยาเสพติดจำนวนถึง 711,556 คน

 

7. ภัยธรรมชาติที่เกิดจากภาวะโลกร้อนจะทำให้อากาศเกิดความแปรปรวนเกิดพายุหรือภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมซึ่งประเทศไทยคงต้องได้รบผลกระทบดังกล่าวด้วยและหากจะต้องเจออุทกภัยดังเช่นในปี 2553 ก็จะมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการหาเลี้ยงชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

     ปัจจัยดังกล่าวถ้าพิจารณาจะเห็นว่าบางปัจจัยส่งผลกระทบโดยตรงขณะที่บางปัจจัยเป็นผลกระทบทางอ้อม อย่างไรก็ตามหากปัจจัยเหล่านี้ยังคงดำรงอยู่จะส่งผลให้สถานการณ์มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยคาดการณืว่าในปี 2554  -2555 จำนวนผุ้ต้องหาคดียาเสพติดน่าจะมีประมาณไม่ต่ำกว่า 150,000 คน และจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษา ประมาณการว่าจำนวนผู้เสพ / ผุ้ติดยาเสพติดในปี 2554-2555 น่าจะมีประมาณ 1,400,000 คน และ 1,700,000 คน ตามลำดับ

 

     สถานการณ์ยาเสพติดและแนวโน้มของปัญหา

 

1. สถานการณ์ในประเทศไทย

 

                1) ข้อมูลจากการสถาบันสำรวจและติดตามการปลุกพืชเสพติด ระบุว่าในปี 2552 / 2553 พบพื้นที่ลักลอบปลูกฝิ่น เนื้อที่ประมาณ 1,804.06 ไร่ในพื้นที่  8 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ ตาก ม่องสอน เชียงราย น่าน กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และเลย เพิ่มขึ้นจากปี 2551 / 2553 ได้ดำเนินการตัดทำลายไปแล้ว 1,738.03 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 96.34 ซึ่งจังหวัดที่พบว่ามีการลักลอบปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ โดยพื้นที่ที่พบว่ามีการลักลอบปลูกมากกว่ามากกว่า 100 ไร่ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อ.อมก๋อย และ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ อ.แม่ราด อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยพื้นที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก มีการลักลอบปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิม

     ตั้งแต่ปี 2548-2552 พบพื้นที่ปลูกไม่เกิน 40 ไร่ แต่ในปี 2553 พบพื้นที่ปลูกมากถึง 153.22 ไร่ เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว ซึ่งรูปแบบการปลูกฝิ่น ผู้ปลูกจะลักลอบเข้าไปปลูกในพื้นที่ห่างไกลและกันดารยิ่งขึ้น เช่น บริเวณพื้นที่สูงในป่าลึก มีการปลูกหลายรุ่นในบริเวณใกล้เคียงกันหรือในแปลงเดียวกัน มีการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรเข้าไปใช้ เช่น การยกร่องแปลงปลูกฝิ่น การใช้ระบบน้ำสปริงเกอร์ การใช้สารเคมีเพื่อปรับปรุงดิน การใช้ยาฆ่าแมลง และการล้อมรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เข้าไปทำลาย

 

     สำหรับสถานการณ์การปลุกฝิ่นในช่วงต้นฤดูการปลูกฝิ่นในปี 2553 / 2554 มีการเตรียมพื้นที่มากขั้น โดยเฉพาะพื้นที่แม่สะต๊อบ อ.แม่แต่ม พื้นที่แปเปอร์ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยมีบางแปลงเริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์ฝิ่นโดยใช้แปลงเก่าของปีที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกฝิ่นส่วนใหญ่ที่สำรวจพบอยู่ในพื้นที่เดิมของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มบ้านห้วยครั่ง แม่สอ ผีปานเหนือ ห้วยบง กองดา ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ แต่มีบางพื้นที่มีการย้ายเข้าไปปลูกในป่าลึกเพื่อให้เข้าตัดทำลายได้ยาก โดยเฉพาะกลุ่มบ้านขุนตื่น ยองแหละ รังบี้ แม่ระมืดหลวง ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งผลการสำรวจที่ผ่านมา พบพื้นที่ปลุกฝิ่นประมาณ 150 แปลง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 100 ไร่

 

     เนื่องจากผลผลิตในพื้นที่ที่รอดจาการตัดทำลายหรือถูกตัดทำลายไม่สมบูรณ์รวมถึงการคัดทำลายหลังจากผู้ปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิตทำให้ผลผลิตฝิ่นดิบเหลือน้อยมาก ทำให้ราคาฝิ่นดิบในพื้นที่ยังคงมีราคาสูงอยู่ ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ผุ้ปลูกยังคงลักลอบปลูกอยู่ โดยราคาขายปลีกบริเวณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ขายปลีกจ๊อยละ 134,400 บาท (มูละ 120 บาท 1 จ๊อย เท่ากับ 1,120 มู) ราคาขายปลีกบริเวณ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ขายปลีกจ๊อยละ 134,400 - 168,000 บาท (มูละ 120 - 150 บาท)

 

                2) พื้นที่ปลูกกัญชา จากการสำรวจตั้งแต่ปี 2548 – ปัจจุบัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมีการลักลอบปลูกในพื้นที่ อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร 11.5 ไร่ และ อ.กุดบาก จ.สกลนคร 2.75 ไร่ ส่วนใหญ่ ลักษณะการปลูกจะปลูกเป็นแปลงเดี่ยวๆ ตามริมห้วยในป่าลึก ส่วนในพื้นที่ภาคเหนือ จากการสำรวจทางอากาศ มีการลักลอบปลูกกัญชาปะปันในแปลงฝิ่นบ้างเล็กน้อย ยังไม่พบพื้นที่ปลูกเป็นแปลงเดี่ยว

 

                3) สำหรับพืชกระท่อม เริ่มสำรวจครั้งแรกในปี 2550 / 2551 พบว่า พื้นที่ปลูกพืชกระท่อมในภาคใต้มีการปลูกทุกจังหวัด แต่เป็นการปลูกกระจายตามบ้าน ในชุมชนเกือบทุกชุมชน ไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่ชัดได้ แต่ที่สำรวจพบเป็นการปลูกเป็นแปลงเห็นได้ชัด โดยในปี 2550 / 2551 มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 155.75 ไร่ในปี 2551 / 2552 มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 1514 ไร่ และในปี 2552 / 2553 มีพื้นที่ปลูก 152.5 ไร่ พื้นที่ ที่พบมีการปลูกมากได้แก่ จ.สตูล ซึ่งเป็นพื้นที่ป่ากระท่อมในธรรมชาติอยู่ในเขตป่าสงวนมีพื้นที่ปลูกประมาณ 150 ไร่ ไม่สามารถตัดทำลายได้

 

                4) การจับกุมแงผลิตอัดเม็ดยาบ้า จับกุมได้ 4 แหล่ง คือ

     คดีที่ 1 วันที่ 24 ก.พ. 2553 บช.ปส ทลายแหล่งผลิตอัดเม็ดยาบ้า ที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมานี จับกุมผุ้ต้องหา 2 คน พร้อมของกลางไอซ์ 2,034 กรัม ยาบ้า 11,800 เม็ด สารเคมี และอุปกรณืการผลิตอัดเม็ดยาบ้าจำนวนมาก ต่อมา วันที่ 25 ก.พ. 2553 ขยายผล ตรวจค้นบ้านพักย่านสุขสวัสดิ์ เขตราฏร์บูรณะ กทม. ยึดไอซ์ 1 กรัม ยาบ้า 1 เม็ด ลังไม้สำหรับใส่เครื่องปั๊มยาบ้า 1 ลัง และของกลางอื่น รวม 6 รายการ

 

     คดีที่ 2 วันที่ 3-7 พ.ค. 2553 สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ ตร.ภ.จว. ฉะเชิงเทรา และ ตร.ภ.1 จับกุมและทำลายเครือขายการค้าไอซ์และผลิตอัดเม็ดยาบ้าในพื้นที่ ภาคกลาง กทม. และปริมณฑล สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งหมด 10 คน

     ของกลางยาบ้า 17,800 เม็ด ไอซ์ 132.2 กรัม เครื่องอัดเม็ดไฮโดรลิก ที่ผลิตขึ้นเอง 2 เครื่อง สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช่ในการผลิตจำนวนมาก พร้อมทั้งสูตรส่วนผสมยาบ้า โดยเป็นเครือข่ายของผู้ต้องโทษคดียาเสพติดในเรือนจำกลางคลองเปรม ขยายผล จับกุมผู้ต้องหาอีก 1 คน ของกลางยาบ้า 230 เม็ด วัตถุแต่งกลิ่นสังเคราะห์ 5 ขวด ผงกลิ่นวานิลา 2 ถุง หัวตอกที่ใช้ในการอัดยามีสัญลักษณ์ WY 38 อัน ผงยาบ้า 200 กรัม ค้อนยาง 1 อัน ซองพลาสติกสีน้ำเงินสำหรับบรรจุยาบ้า 117 แพ็ค ไอซ์ชนิดเกล็ด สีน้ำตาล 2 กรัม และสมุดบันทึกส่วนผสมยาบ้าที่ จ.พระนครศรีอยุธยา

 

     คดีที่ 3 วันที่ 14 ก.ค. 2553 บก.ภ.จว.ฉะเชิงเทรา ร่วมกับ ปปส.ภาค 2 จับกุมผู้ต้องหา 5 คน ลักลอบผลิตอัดเม็ดยาบ้า ที่ จ.ปทุมธานี ของกลางยาบ้า 89,200 เม็ด ยาบ้าเปียกชื้น 434 กรัม เครื่องอัดเม็ดแบบ SINGLE PUNCH  ชนิด 3 หัวตอก 1 เครื่อง หัวตอก WY 6 คู่ เครื่องผสม 1 เครื่อง เตาอบ 3 เครื่อง เครื่องปั้นบดไฟฟ้า 1 เครื่อง เตาไมโครเวฟ 1 เครื่อง เครื่องชั่งน้ำหนัก 3 เครื่อง ผงสีต่างๆ 11.8 ก.ก. สีผสมอาหาร 36 ห่อ สารแต่งกลิ่น 19 ขวด เปลือกไม้พืชหางไหลอบแห้ง 2 ถุง สารกันชื้น 9 ถุง สารส้ม 1ก.ก. ผงกาเฟอีน 19.3 ก.ก.  ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน 91 แผง ถุงสีฟ้า 1 กล่องใหญ่ ฯลฯ รวมของกลางทั้งสิ้น 51 รายการ ทั้งนี้เป็นผลสืบสวนต่อเนื่องมาตั้งแต่คดีเมื่อวันที่ 3-7 พ.ค. 2553 จากการสอบสวนผู้ต้องหาทั้ง 5 คน  ให้การว่า ร่วมกันลักลอบผลิตและจำหน่ายยาบ้าจริงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ และจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินหรือได้ยาบ้าไว้เสพโดยไม่จำเป็นต้องซื้อ โดยก่อนถูกจับกุมได้ผลิตอัดเม็ดยาบ้าเตรียมไว้จำหน่าย และอยู่ระหว่างลำเลียงกาเฟอีนมาเพื่อผสมอัดเม็ดเพิ่มเติมอีก

     คดีที่ 4 วันที่ 16 ก.ย. 2553 สภ.หนองแค จับกุมผุ้ต้องหา 1 คน พร้อมของกำลางยาบ้าชนิดผง 2 กรัม ผงสีขาวบรรจุในถุงแบบมีหูหิ้ว น้ำหนัก 500 กรัม ผงสีขาวบรรจุในถุงเขียนว่า “กรดมะนาว” น้ำหนัก 500 กรัม เครื่องอัดเม็ดยา ชนิด SINGLE PUNCH จำนวน 2 เครื่อง หัวตอกแม่พิมพ์ “WY” จำนวน 7 หัว หัวตอกล่าง จำนวน 14 หัว แท่นโลหะรองผลิต จำนวน 3 ตัว และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตอีกหลายรายการ รวมของกลางทั้งสิ้น 25 รายการ เหตุเกิดที่บ้านพักใน อ.หนองแค จ.สระบุรี ขายผลยึดของกลางได้อีกจำนวนมากที่บ้านพักใน อ.วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา หัองพักในอพาร์ทเม้นท์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี และ ห้องเช่าใน อ.เมือง จ.นนทบุรี จากการสอบสวน ผู้ต้องหาให้การว่ากลุ่มของตนได้มาเช่าบ้านไว้เพื่อลักลอบผลิตยาบ้าซึ่งมีการแบ่งหน้าที่กันทำ คือ จัดหาสารตั้งต้นเพื่อนำมาผสม ผลิต และลำเลียงยาบ้าที่ผลิตเสร็จแล้วไปเก็บพักไว้ที่บ้านพักที่ อ.วังน้อย จากการตรวจสอบฐานข่าว พบประวัติ ผู้ต้องหา เคยถูก สภ.วังน้อย จับกุม 2 ครั้ง

 

     โดยนับตั้งแต่ประกาศสงครามกับยาเสพติดเมื่อปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ยังไม่เคยพบแหล่งผลิตยาเสพติดในประเทศเลย จนกระทั้งปัจจุบัน จะพบเพียงการลักลอบนำเอาเม็ดยาบ้ามาบดผสมและอัดเม็ดใหม่ด้วยมือ เพื่อให้สามารถขายทำกำไรมากขึ้นเท่านั้น แต่ตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมา เริ่มพบว่ามีการจับกุมแหล่งผลิตอัดเม็ดยาบ้าในประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าในระยะหลังการดำเนินการปราบปรามอย่างเมงวดของเจ้าหน้าที่ทำให้การจัดหายาเสพติดจากพื้นที่ชายแดนของกลุ่ม นักค้าทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังใช้ต้นทุนสูงกว่าการนำหัวเชื้อมาผลิตอัดเม็ดในพื้นที่ตอนใน อาจทำให้มีนักค้าบางกลุ่มเริ่มหันมาผลิตอัดเม็ดยาบ้าเพิ่มขึ้น โดยมีนักโทษในเรือนจำเป็นผู้ติดต่อสั่งการ

 

     นอกจากนี้ ยังการจับกุมการลักลอบผลิตไอซ์ในลักษณะของ Kitchen Lap  อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ต้องหารู้วิธีการผลิต และสั่งซื้อสารเคมีทางอินเตอร์เน็ต โดยในช่วงปี 2553 จับกุมได้ 1 คดี คือเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2553 บช.ปส.

     จับกุมชาวสวีเดน 1 คน พร้อมของกลาง ได้แก่ เมทแอมเฟตามีนชนิดน้ำ 100 ม.ล. ในขวดก้นกลมอีก 2 ขวด สารเคมีชนิดต่างๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ รวม 46 รายการ ที่ อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งการจับกุมแหล่งผลิตไอซ์ในลักษณะนี้เคยมีการจับกุมมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 18 ก.ค. 2551 กองบังคับการตำรวงจะปฏิบัติการพิเศษ จับกุม ที่อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ครั้งที่ 2 วันที่ 15 มิ.ย. 2552 ตำรวจปฏบัติการพิเศษ 191 จับกุม ที่ห้องพักย่านถนนเกษตร-นวมินทร์ และย่านลาดพร้าว กทม. และครั้งที่ 3 วันที่ 12 ก.ย. 2552 สน.ห้วยขวาง จับกุมชาวนิวซีแลนด์ 1 คน หญิงไทย 1 คน ที่อพาร์ทเมนท์ ย่านห้วยขวาง ต่อเนื่องห้องโรงแรมย่านบางลำภู กทม.

 

     จากการตรวจและวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของกลาง จากสถานตรวจพิสูจน์ต่างๆทั่วประเทศ ในช่วงตั้งแต่ปี 2554 พบว่า แหล่งผลิตหัวเชื้อที่พบมีประมาณ 12 แหล่ง แต่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

     และในช่วง 3 ปีหลัง ปรากฏว่ามีแหล่งผลิตหัวเชื้อที่ผูกขาดการตลาดเพียงแหล่งเดียวซึ่งเป็นของกลุ่มว้า ขณะเดียวกันยังพบว่ามีแหล่งผลิตอัดเม็ดหลายแหล่งกระจายอยู่ตามแนวชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน แต่มีอยู่ 2 แหล่ง ซึ่งเป็นของกลุ่มว้าที่ผูกขาดการตลาดยาบ้าในประเทศไทย โดยมีสัดส่วนการแพร่ระบาดประมาณ ร้อยละ 88

     นอกจากนี้ ในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการลักลอบนำสารตั้งต้นประเภทอีเฟดรีนจากประเทศไทยเข้า

     ไปในพม่า แต่เมื่อมีการควบคุมเข้มงวด กลุ่มผู้ผลิตยาเสพติดได้เปลี่ยนมานำเข้าจากจีนและอินเดีย ต่อมาทั้งสองประเทศออกมาตรการสกัดจับกุมอย่างเข้มงวดในปี 2550 ส่งผลให้ผู้ผลิตยาเสพติดหันมาลักลอบนำเข้ายาแก้หวัดที่มีส่วนผสมซูโดอีเฟดรีน (จัดเป็นสารตำรับผสมเมื่อจับกุมได้ ขยวนการค้า-ลำเลียงมักอ้างว่าเป็นยา ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510) แล้วนำไปสกัดเป็นสารตั้งต้นเพื่อผลิตไอซ์ และยาบ้า ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมซูโดอีเฟดรีนที่จำหน่ายตามสถาน พยาบาล ร้านขายยาในประเทศไทยมีถึง 224 ตำรับ / ยี่ห้อ ทั้งชนิดที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสม 30 ม.ก. ต่อเม็ด และ 60 ม.ก.ต่อเม็ด หากนำยาแก้หวัดที่มีซูโดอีเฟดรีน 60 ม.ก. ต่อเม็ด มาจำนวน 1,000,000 เม็ด จะสามารถผลิตไอซ์ หรือหัวเชื้อยาบ้าได้ถึง 45 ก.ก. ซึ่งนำไปผลิตอัดเม็ดยาบ้าต่อได้ถึง 1,980,000 เม็ด นับเป็นวิธีผลิตที่ใช้ต้นทุนถูกลงกว่าในอดีต ส่งผลให้มีการลักลอบลำเลียงยาแก้หวัดฯ จากประเทศผู้ผลิต ซึ่งได้แก่ จีน อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ รวมทั้งประเทศไทยกันมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศไทย เมื่อปี 2551 เจ้าหน้าที่จับกุมยาแก้หวัดฯ ได้ประมาณ 1,900,000 เม็ด ซึ่งซุกช่อนมากับตุ๊กตาปูนปั้นขนาดใหญ่ ขณะเตรียมนำลงเรือสินค้าไปยังออสเตรเลีย การจับกุมยาแก้หวัดฯ เกิดขึ้นในไทยตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน (ธ.ค.2553) จากข้อมูลการจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญ สามารถจับกุมได้ 24 คดี ผู้ต้องหา 37 คน ของกลางยาแก้หวัดฯ จำนวน 34,937,099 เม็ด และแบบผงอีก 192.22 ก.ก. ของกลางจำนวนนี้ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในเกาหลีใต้ เมื่อรวมของกลางที่จับกุมได้ทั้งในไทย และประเทศเพื่อนบ้านมีปริมาณทั้งสิ้น 63,554,774 เม็ด ซึ่งถ้าหลุดรอดไปถึงผู้ผลิต สามารถนำไปอัดเม็ดยาบ้าได้ประมาณ 127 ล้านเม็ด และเชื่อกันว่าจะถูกส่งกลับมาเข้ามาจำหน่ายในไทยต่อ ขณะที่หน่วยงานสกัดกั้นทางชายแดนภาคเหนือ ประมาณทางการข่าวไว้ว่า สมารถสกัดกั้นยาบ้าที่ชายแดนได้เพียงร้อยละ 20 ที่เหลืออีกร้อยละ 80 หลุดรอดเข้าถึงพื้นที่ตอนในนั้น จึงประมาณได้ว่า ในรอบ 3 ปีที่ท่างการไทยสกัดกั้นจับกุมยาบ้าทั้งชายแดนและตอนในรวมประมาณ 200 ล้านเม็ด นั่นเท่ากับมีการลักลอบนำยาแก้หวัดฯ ส่งเข้าไปในพม่าได้ประมาณ 101 ล้านเม็ด

 

2. สถานการณ์การลักลอบนำเข้ายาเสพติด

     ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในประเทศ ส่วนใหญ๋มาจากแหล่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า สปป.ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย โดยยบ้า เฮโรอีน และไอซ์ ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศพม่าทางชายแดนภาคเหนือด้านจ.เชียงใหม่ เชียงราย กัญชาซึ่งแหล่งผลิตสำคัญอยู่ใน สปป.ลาว ส่วนใหญ่นำเข้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ผ่านทางจังหวัดนครพนม หนองคาย มุกดาหาร และยาเสพติดในกลุ่ม Club Drugs ส่วนใหญ่นำเข้าทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

     พื้นที่สำคัญในการนำเข้ายาเสพติดยังคงอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคเหนือ

     พื้นที่นำเข้ายาเสพติด ชายแดนภาคเหนือยังคงเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนการลักลอยนำเข้ายาเสพติดสูงที่สุดมาโดยตลอด

     สัดส่วนดังกล่าวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ขึ้นลงอยู่ในช่วงตั้งแต่ร้อยละ 59.4-88.7 ซึ่งช่วงที่การนำเข้าทางชายแดนภาคเนือลดลงอาจเนื่องจากมีการเปลี่ยนเส้นทางลำเลียงไปนำเข้าทางชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมของเจ้าที่ ล่าสุดปี 2553 พบการนำเข้าทางภาคเนือร้อยละ 84.5 โดยการลักลอบลำเลียงยาเสพติดในแต่ละครั้งมีปริมาณมากขึ้น มีการดำเนินการเป็นขบวนการและใช้กองกำลังติดอาวุธคุ้มกันรองลงมาลักลอยนำเข้าทางชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 15.0 และชายแดนภาคกลางร้อยละ 0.5 พื้นทีที่มีการลักลอบนำเข้ายาเสพติดในปี 2553 พบจำนวน 42 อำเภอ ใน 17 ตจังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ (อ.ฝาง เชียงด่าว แม่อาย เวียงแหง ไชยปราการ) จ.เชียงราย (อ.แม่จัน แม่สาย เทิง เชียงแสน เวียงแก่น แม่ฟ้าหลวง  เชียงของ) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.ปางมะผ้า) จ.ตาก (อ.แม่สอด พบพระ) จ.พะเยา (อ.เชียงคำ) จ.อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก) จ.หนองคาย (อ.ศรีเชียงใหม่ บึงกาฬ บึงโขงหลง โพนพิสัย ท่าบ่อ บุ่งคล้า เมืองหนองคายรัตนวาปี สังคม) จ.อำนาจเจริญ (อ.ชานุมาน) จ.อุบลราชธานี (อ.เขมราฐ สิรินธร) จ.นครพนม (อ.ท่าอุเทนธาตุพนม บ้านแพง เมืองนครพนม) จ.มุกดาหาร (อ.ดอนตาล เมืองมุกดาหาร หว้านใหญ่) จ.เลย (อ.เชียงคาน ) จ.จันทบุรี (อ.โป่งน้ำร้อน) จ. กาญจนบุรี (อ.สังขละบุรี) จ.สระแก้ว (อ.อรัญประเทศ) จ.นราธิวาส (อ.สุไหงโกลก) จ.สงขลา (อ.สะเดา) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นำเข้าเดิม แต่ที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิศษนอกจากพื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคเหนือ ซึ่งได้แก่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะด้าน อ.เชียงแสน แม่จัน แม่สาย ฝาง ที่มีปริมาณการนำเข้ามในปี 2553 มากกว่า 1 ล้านเม็ดขึ้นไปแล้ว พ้นที่ที่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย และ อ.เชียงคาน จ.เลย

     ช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากชายแดนภาคเหนือมีการตรึงกำลังสกัดกั้นยาเสพติดค่อนข้างแน่นหนา กลุ่มว้าจึงยอมเสียเวลาเดินทางอ้อมเพื่อความปลอดภัย การนำเข้าปริมาณมากๆ จึงหันมานำเข้าทางเชียงแสน ซึ่งเป็นแนวชายแดนลาวตลอดแนวเข้าได้ทุกช่องทาง มีการบรรทุกสินค้าทางเรือมาส่งครั้งละจำนวนมาก ยากต่อการตรวจค้น และระยะหลังมีการส่งของโดยเรือเล็ก (Speed Boat) โยนของขึ้นฝั่งที่จุดนัดหมาย นอกจากนั้นขณะนี้กำลังมีการสร้างบ่อนคาสิโนขนาดใหญ่ในพื้นที่เขตปกครองพิเศษในฝั่งลาวตรงข้าม อ.เชียงแสน ซึ่งลาวไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจค้น ตลอดจนการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 และแห่งที่ 4 ที่เอ้อต่อการลักลอบนำเข้ายาเสพติด โดยเฉพาะการนำเข้าด้าน อ.เชียงแสน เชียงของ จ.เชียงราย และพื้นที่ใน จ.นครพนม อาจส่งผลต่อความรุนแรงของสถานการณ์ยาเสพติดในอนาคตๆ ได้

     การนำเข้าทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเครือข่ายชาวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

     นอกจากการลักลอบนำเข้ายาเสพติดทางพื้นที่ชายแดนแล้ว ยังพบการนำเข้าโดยกลุ่มนักค้าชาวต่างชาติที่ท่าอาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ โดยมี 2553 พบการนำเข้าสูงถึง 134 ครั้ง มากกว่าปีที่ผ่านมาถึง 4.6 เท่า ส่วนใหญ่เป็น

     การนำเข้ายาเสพติดในกลุ่ม Club Drug เฮโรอีน ยางกัญชา และฝิ่น โดยกลุ่มนักค้าชาวตางชาติที่มีการลักลอยนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่

 

                1) กลุ่มนักค้าชาวอิหร่าน ซึ่งส่วนใหญ่ลักลอบนำเข้าไอซ์จากตะวันออกกลางแต่เดิมใช้เส้นทางบินตรงจากเมืองเตหะราน ประเทศอิหร่านมายังประเทศไทย ต่อมามีการปลี่ยนเส้นทางบินอ้อมไกลขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเพ่งเล็งจับกุมของเจ้าหน้าที่ โดยใช้เส้นทางเมืองเตหะรานประเทศอิหร่าน – เมืองโดฮา ประเทศการ์ตา เมืองอิสตัลบูล ประเทศตุรกี หรือเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับ

 

     อิมิเรตท์ - ท่าอาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย ใช้เส้นทางเมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย- เมืองดูไบ หรือเมืองอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรตท์ – ท่าอาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย และใช้เส้นทางประเทศบาร์เรน – ท่าอาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย – กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยปี 2553 จับกุมได้ถึง 77 คน ของกลางไอซ์ 139.5 ก.ก. ฝิ่น 254 กรัม อย่างไรก็ตามตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 เริ่มจับกุมชาวอิหร่านได้น้อยลง อาจเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางลำเลียงไอซ์ไปยังประเทศมาเลเซียโดยตรง  โดยทางมาเลเซีย มีการจับกุมชาวอิหร่านได้มากขึ้น และมีการประสานความร่วมมือกับทางประเทศอิหร่านให้เข้มงวดในการตรวจค้นชาวอิหร่านที่จะเดินทางมายังประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจุบัน สามารถใช้เส้นทางบินตรงจากเมืองเตหะราน ประเทศอิหร่าน มายังท่าอาศยานภูเก็ตโดยตรง จึงควรเฝ้าระวังการนำเข้าทางด้านนี้เพิ่มขึ้น

 

                 2) กลุ่มนักค้าชาวปากีสถาน ลักลอบนำเข้าเฮโรอีนจากอัฟกานิสถาน โดยจับกุมได้ 14 คน ของกลางเฮโรอีน 9.9 ก.ก.

 

                 3) เครือข่ายชาวแอฟริกัน ลักลอบลำเลียงไอซ์จากแอฟริกา ใช้เส้นทางเมืองโกโตนูประเทศเบนิน – เมืองแอสดิส อบาบา

     ประเทศเอธิโอเปีย – ท่าอาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย – กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ใช้เส้นทางเมืองโลเม ประเทศโตโก – เมืองแอสดิส อบาบา ประเทศเอธิโอเปีย- ท่าอาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย – กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา หรือใช้เส้นทางเมืองไนโรบีประเทศเคนย่า – เมืองบามาโค่ ประเทศมาชี – เมืองแอสดิส อบาบา ประเทศเอธิโอเปีย – ท่าอาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย โดยว่าจ้างชาวฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และแอฟริกัน ลักลอบนำเข้าไอซ์ และโคเคน ช่วงปี 2553 จับกุมชาวกาน่า กีนี แกมบัย เคนย่า โมซัมบิค ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ได้รวม 25 คน

ของกลางไอซ์ 34.5 ก.ก. โคเคน 22.1 ก.ก. สำหรับการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศเพื่อนบ้านแล้วนำเข้ากลับมายังประเทศไทยใหม่ โดยเฉพาะทางด้านกัมพูชา ส่วนหนึ่งเป็นการหลบเลี่ยงการจับกุมของเจ้าหน้าที่

 

                4)  กลุ่มนักค้าชาวอินเดีย ลักลอบนำเคตามีนจากประเทศอินเดียเข้าประเทศไทยก่อนลำเลียงไปยังภาคใต้ และประเทศมาเลเซีย โดยจับกุมชาวอินเดียได้ 7 คน ของกลางเคตามีน 102.1 ก.ก.

 

                5) กลุ่มนักค้าชาวเนปาล ลักลอบลำเลียงยางกัญชาจากกรุงเดลลี เมืองโกลกาตา และเมืองบักอกร้า ประเทศอินเดีย นำเข้าประเทศไทยทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจับกุมได้ 5 คน ของกลางกัญชา 38.6 ก.ก.

 

                6) กลุ่มนักค้าชาวสเปน ลักลอบนำเข้าไอซื 3.1 ก.ก. จากประเทศกาน่า และลักลอบลำเลียงยางกัญชาจากเมืองมุมไบประเทศอินเดีย จำนวน 7 ก.ก. นำเข้าประเทสไทยทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

 

     นอกจากนั้นยังพบหญิงชาวเวียดนามลำเลียงไอซ์ 3,700 กรัม โดยใช้เส้นทางประเทศคาเมรูน – เมืองแอสดิส อบาบา ประเทศเอธิโอเปีย – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย –กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

     การนำเข้ายาบ้า และไอซ์ เพื่อแพร่ระบาดในประเทศ มีแนวโน้มมากขึ้น รวมถึงการนำเข้ายาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน เพื่อนำไปใช้ในการผลิตไอซ์และยาบ้า ในประเทศเพื่อนบ้าน

     จากสถิติการจับกุมคดียาเสพติดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบแนวโน้มการนำเข้ายาเสพติดในแต่ละตัวยา ดังนี้

  • ยาบ้า ส่วนใหญ่ลักลอบนำเข้าจากประเทศพม่าทางชายแดนภาคเหนือ โดยมีแนวโน้มเพื่มมากขึ้นในปี 2549 จับกุมยาบ้าทั้งประเทศได้จำนวน 12.45 ล้านเม็ด เพิ่มเป็น 25.0 ล้านเม็ด ในปี 2552 และ 48.5 ล้านเม็ดในปี 2553 พื้นที่นำเข้าสำคัญ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ (อ.ฝาง เชียงดาว แม่อาย เวียงแหง) จ. เชียงราย ( อ.แม่จัน แม่สาย เชียงแสน เวียงแก่น แม่ฟ้าหลวง จ. แม่ฮ่องสอน (อ. ปากมะผ้า) จ. หนองคาย ( อ.ศรีเชียงใหม่  บึงกาฬ เมือง ท่าบ่อ ) จ.เลย (อ.เชียงคาน ) จ.อำนาจเจริญ (อ.ชานุมาน) จ.อุบลราชธานี (อ.เขมราฐ) จ.นครพนม (อ.ท่าอุเทน) ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณการนำเข้าต่อครั้งสูงปี 2553 จับกุมการนำเข้ายาบ้า 100,000 เม็ดขึ้นไป ได้จำนวน 59 ครั้ง เป็นการนำเข้าด้าน จ.เชียงราย 27 ครั้ง จ.เชียงใหม่ 14 ครั้ง จ.หนองคาย 4 ครั้ง จ.อำนาจเจริญ 3 ครั้ง จ.แม่ฮ่องสอน 2 ครั้ง จ.อุบลราชธานี 2 ครั้ง และจ.เลย 1 ครั้ง


  • กัญชา ส่วนใหญ่พบการลักลอบนำเข้ากัญชาแห้งจาก สปป.ลาว โดยช่วง 5 ปี ที่ผ่านมามีปริมาณการนำเข้าอยู่ระหว่าง 10-20 ตัน พื้นที่นำเข้าสำคัญ ได้แก่ จ.หนองคาย (อ.บึงกาฬ บึงโขงหลง โพนพิสัยรันวาปี สังคม ศรีเชียงใหม่) จ.มุกดาหาร (อ. เมือง หว้านใหญ่) จ.นครพนม (อ.เมือง บ้านแพง ท่าอุเทน) ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าแล้วลำเลียงผ่านภาคใต้ไปยังประเทศมาเลเซีย นอกจากนั้นยังพบการนำเข้ายางกัญชา ที่ท่าอาศยานสุวรรณภูมิ โดยชาวเนปาล และชาวสเปน ซึ่งคาดว่าเป็นการนำเข้ามาเพื่อใช้ในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ


  • เฮโรอีน การลักลอบนำเข้ายังคงมีแนวโน้มลดลงปี 2550 จับกุมได้ 294.6 ก.ก. ลดลง เหลือ 145.9 ก.ก. ในปี 2552 และ 136.9 ก.ก.ในปี 2553 พื้นที่นำเข้าสำคัญ ได้แก่ จ.เชียงราย (ไม่ระบุอำเภอ) จ.เชียงใหม่ (อ.ไชยปราการ ฝาง แม่อาย ) จ.มุกดาหาร (อ.หว้านใหญ่) จ.สระแก้ว (อ.อรัญประเทศ) จ.สงขลา (อ.สะเดา) และท่าอาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ โดยการนำเข้าทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นการนำเข้าโดยชาวปากีสถาน ส่วนใหญ่ซุกซ่อนโดยวิธีการกลืน นอกจากนั้นยังพบการลักลอบนำเข้าเฮโรอีนจากอัฟกานิสถาน ผ่านทางประเทศมาเลเซีย โดยกลุ่มนักค้ายาเสพติดชาวแอฟริกัน โยเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 จับกุมชาวไนจีเรีย 1 คน พร้อมเฮโรอีน 15 ก.ก. นำเข้าทางด่านสะเดา จ.สงขลา ซึ่งเป็นการนำเข้าเฮโรอีนทางด้านนี้เป็นครั้งแรก


  • ฝิ่นพบการนำเข้าจากประเทศพม่าด้าน อ.เชียงดาว ฝาง และแม่อาย จ.เชียงใหม่ จำนวน 19.8 ก.ก. นอกจากนั้นยังพบการนำเข้าฝิ่นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยชาวอิหร่าน ห่อหุ้มฝิ่นด้วยถุงยางอนามัยและพลาสติกใสซุกซ่อนบริเวณชายเสื้อยืด จำนวน 254 กรัม


  • ไอซ์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปี 2550 จับกุมไอซ์ได้ 48.3 ก.ก. เพิ่มขึ้นเป็น 225.1 ก.ก. ในปี 2552 และ 726.6 ก.ก.ในปี 2553 โดยปรากฏการลักลอบนำเข้าจากพม่าทางด้าน จ.เชียงราย (อ.แม่สาย แม่จันเทิง ) จ.เชียงใหม่ (อ.แม่อาย ฝาง เชียงดาว) นอกจากนั้นยังพบการนำเข้าทางท่าอาศยานสุวรรณภูมิจ .สมุทรปราการ โดยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าโดยชาวอิหร่าน ซุกซ่อนโดยการกลืนเข้าไปในร่างกาย และซุกซ่อนในกระเป๋าสัมภาระ

     จากข้อมูลการจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญในปี 2553 พบการนำเข้าไอซ์จำนวน 395.2 ก.ก. เป็นการนำเข้าจากประเทศพม่า จำนวน 194 ก.ก. (ร้อยละ 49.1) นำเข้าโดยชาวอิหร่าน 139.45 ก.ก. (ร้อยละ 35.3) นำเข้าโดยเครือขายชาวแอฟริกัน 34.5 ก.ก. (ร้อยละ 8.7) ซึ่งแม้ว่าราคาไอซ์ของเครือข่ายอิหร่านจะราคาถูกกว่าไอซ์จากพม่า โดยราคาขายส่งจากอิหร่านในพื้นที่ กทม. ก.ก. ละ 800,000 บาท ขณะที่ราคาไอซ์ของกลุ่มนักค้าภาคเหนือ ขายส่ง ก.ก. ละ 2,000,000 - 2,500,000 บาท แต่โอกาสที่ไอซ์จากตะวัออกลางจะเข้ามาแทนที่ไอซ์จากพื้นที่ชายแดนภคเหนือยังคงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากการซื้อขายต้องอาศัยความไว้วางใจต้องผ่านคนที่รู้จักกันมาก่อน นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดในเรื่องของภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกัน สำหรับสัดส่วนการนำเข้ามาเพื่อใช้ในประเทศ  หรือส่งต่อไปยังต่างประเทศนั้น ยังไม่สามารถประมาณการได้ ทราบแต่เพียงไอซ์ที่นำเข้าโดยเครือข่ายชาวแอฟริกัน มีบางส่วนส่งต่อไปยังประเทศกัมพูชา มาเลเซีย

  • เคตามีน มีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นในปี 2551 จับกุมเคตามีน 18.4 ก.ก. เพิ่มขึ้นเป็น 20.5 ก.ก. ในปี2552 และ 171.6 ก.ก. ในปี 2553 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าทางท่าอาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการโดยช่วงนี้พบการลักลอบนำเข้าเคตามีนผงจากประเทศอินเดียที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ เพื่อส่งต่อไปประเทศมาเลเซีย

  • โคเคน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปี 2553 จับกุมได้ถึง 35.2 ก.ก. เพิ่มชึ้นจากปี 2552 ซึ่ง จับกุมได้ 9.3 ก.ก. และปี 2551 จับกุมได้ 12.6 ก.ก. ส่วนใหญ่นำเข้าทางท่าอาศยานสุวรรณภูมิ โดยพบเครือข่ายแอฟริกันใช้หญิงฟิลิปปินส์ ลักลอบนำโคเคนจากอเมริกาใต้ โดยจับกุมได้ 7 คดี เป็นหญิง ฟิลิปปินส์ 6 คน ชาย 1 คน รับจ้างลำเลียงโคเคนจากประเทศเปรู และประเทศบราซิล มาส่งที่ประเทศไทยรวม 20,098 กรัม และ ชาวไนจีเรีย นำเข้าโคเคน 1,950 กรัม

 

  • พืชกระท่อม พบการลักลอบนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย โดยจับกุมได้ที่ท่าเรือบ้านลูโป๊ะมง ริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก และที่ด่านสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ด่านพรมแดนสะเดา จ.สงขลา รวมของกลางพืชกระท่อม 398 ก.ก.

 

  • ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน สามารถสกัดให้ได้วูโดอีเฟดรีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตไอซ์และยาบ้า ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ใช้ต้นทุนถูกลงกว่าในอดีต โดยยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน 60 ม.ก. ต่อเม็ด จำนวน 1 ล้านเม็ด สามารถผลิตไอซ์หรือหัวเชื้อยาบ้าได้ 45 ก.ก. ซึ่งนำไปผลิตยาบ้าได้เกือบ 2 ล้านเม็ด กลุ่มผู้ผลิตจึงมีการลักลอบซื้อยาดังกล่าวส่งไปยังพื้นที่ชายแดน เพื่อลักลอบนำออกไปยังแหล่งผลิตในประเทศไทยเพื่อนบ้าน ในปี 2553 จับกุมได้ถึง 32,883,988 เม็ด เพิ่มจากปี 2552 ที่จับกุมได้จำนวน 1,853,110 เม็ด โดยยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีนที่จับกุมได้มีทั้งที่ผลิตในประเทศไทย มาเลเซีย และเกาหลีใต้ นอกจากนั้นยังพบ

     การนำเข้าอีเฟดรีน จำนวน 745 กรัม โดยชาวกีนี ลักลอบลำเลียงจากเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย มายังท่าอาศยานสุวรรณภูมิ

     ชาวเขาเผ่ามูเซอ และเผ่าม้ง เข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้าและลำเลียงยาเสพติดสูงขึ้น

     จากข้อมูลการข่าวพบว่ารัฐบาลพม่าได้จัดตั้งชาวมูเซอที่ยินยอมเป็นกองกำลังรักษาชายแดน (BGF) เข้าเป็นกองกำลังอาสาสมัครประจำการตามแนวชายแดนด้านตรงข้าม อ.ฝางไชยปราการ จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่จัน จ.เชียงราย เป็นเหตุให้ชนเผ่าเหล่านี้หันมาค้าหรือรับจ้างลำเลียงยาเสพติดหาเลี้ยงตัว นอกจากนั้นยังพบความเคลื่อนไหวของชาวม้งที่ถูกทางไทยผลักดันกลับ สปป.ลาว หลบไป อาศัยอยู่กับกลุ่มว้า และกลุ่มว้าได้ฝึกเป็นกองกำลังและให้ประจำการตามแนวชายแดนไทย – พม่า ด้านตรงข้าม จ.เชียงใหม่ เชียงราย ซึ่งหมู่บ้านฝั่งไทยเผ่าม้งอาศัยอยู่ จึงมีความเป็นพี่น้องกันสูง การเดินทางข้ามไปมาจึงทำได้โดยง่าย อาจส่งผลต่อ การลำเลียงยาเสพติดต่อไป โดยในช่วง 1-2 ปีมานี้พบการจับกุมชาวเขาเผ่าม้งหลายคดีทั้งที่เป็นนักค้าเองหรือเป็นผู้ลำเลียงยาเสพติด ที่สำคัญ ได้แก่ เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2552 ตร.ภ.จว.ตาก จับกุมเครือข่ายนักค้าชาวเขาเผ่าม้ง ได้ผู้ต้องหา 2 คน  พร้อมยาบ้า 20,000 เม็ด ที่บริเวณบนถนนพหลโยธิน อ.เมือง จ.ตาก ขยายผลเข้าตรวจค้นบ้านพักของกลุ่มผู้ต้องหาที่เช่าไว้ใน จ.ตาก พบยาบ้าอีก 50,000 เม็ด อยู่ภายในบ้านจึงจับกุมผู้ต้องหาอีก 2 คน ซึ่งอยู่ภายในบ้าน ระหว่างการสอบสวน ผู้ต้องหา 2 คน ได้เสนอเงินให้ชุดจับกุม จำนวน 10 ล้านบาท เพื่อแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดี โดยแจ้งว่าจะให้เงินเจ้าหน้าที่ก่อนจำนวน 5 ล้าน ส่วนเหลือจะให้ภายหลัง ต่อมาตรวจค้นรถยนต์ ซึ่งยึดไว้เป็นของกลาง พบยาบ้าอีก 60,000 เม็ดซุกซ่อนอยู่ใต้กระบะแมกลายเนอร์ จึงยึดไว้ดำเนินคดี รวมของกลางยาบ้า 130,000 เม็ด เงินสดที่นำมาให้สินบนเจ้าหน้าที่ 5 ล้านบาท และวันที่ 23 มี.ค. 2553 ตร.สส.ภ.5 ร่วมกับ ชปส.ศตส.ภ.5 สภ.ห้างฉัตร และ สำนักงาน ป.ป.ส. จับกุมชาวเขาเผ่าม้ง 1 คน พร้อมของกลางยาบ้า 500,000 เม็ด ซุกซ่อนในกระบะรถยนต์ที่ด้านหลังดัดแปลงทำเป็นช่องลับ ที่ปั้มน้ำมัน ใน อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง จากการสอบสวนผู้ต้องหารับว่ารับจ้างขนยาบ้าจาก นายกา หรือก้า ผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นชาวเผ่ามูเซอ บ้านโป่งนก ต.สันสลี อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

     ศักยภาพในการสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดในพื้นที่ชายแดน

     การสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ชายแดนซึ่งถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ด่านหน้าที่มีความสำคัญที่สุดในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่ยาเสพติดจากภายนอกประเทศจะถูกลักลอบนำเข้ามา ในช่วงนี้สามารถจับกุมยาเสพติดในพื้นที่ชายแดนได้ของกลางยาบ้า 14,011,070 เม็ด เฮโรอีน 100.15 ก.ก. กัญชา 8,634 ก.ก. ไอซ์ 205.7 ก.ก. ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน 5,635,988 เม็ด โดยยาบ้าที่จับกุมได้ คิดเป็นร้อยละ 35.6 ของการจับกุมทั้งประเทศ

     เมื่อวิเคราะห์การสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดในพื้นที่ชายแดนทั่วประเทศ จากข้อมูลการจับกุมยาบ้ารายสำคัญที่ทราบพื้นที่นำเข้า พบว่าเป็นการจับกุมในพื้นที่นำเข้าร้อยละ 42.7 ลดลงจากปีร 2552 ซึ่งจับกุมในพื้นที่นำเข้าได้ร้อยละ 44.9 และปี 2551 ซึ่งจับกุมในพื้นที่นำเข้าได้ร้อยละ 60.9 ทั้งนี้เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นการ CD (Control Delivery) ให้มาจับกุมในพื้นที่ตอนในโดยเฉพาะพื้นที่ กทม. สมุทรปราการ และปทุมธานี เพื่อขยายผลการจับกุมต่อไป

     วิธีการลักลอบลำเลียงยาเสพติด

     การลำเลียงยาเสพติดในช่วงนี้พบว่ามีการใช้กองกำลังติดอาวุธคุ้มกัน มีการนำอาวุธสงครามติดตัวขณะลำเลียงยาเสพติดโดยมีการยิงโต้ตอบกกับเจ้าหน้าที่ในหลายพื้นที่ เมื่อหน่วยปฏิบัติในพื้นที่มีความเข้มงวดในการสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติด กลุ่มผู้ลำเลียงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เส้นทางรองในการลำเลียงยาเสพติดแทนเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมของเจ้าหน้าที่ที่ด่าน/จุดตรวจ มีการใช้วิธีการซื้อรถยนต์กระบะมือสองจากเต็นท์รถเป็นพาหนะในการลำเลียงการใช้ป้ายทะเบียนคันอื่นมาใส่แทน การลำเลียงมาโดยซุกซ่อนมากับรถบรรทุกผักและผลไม้ การส่งทางไปรษณีย์ผ่านบริษัทรับขนส่งสินค้า การซุกซ่อนมากับถังแก๊สเปล่า เป็นต้น สำหรับชาวต่างชาติที่ลักลอบนำเข้ายาเสพติดนั้นบางส่วนไม่ได้ลำเลียงผ่านประเทศไทยโดยตรง  แต่ลำเลียงผ่านประเทศกัมพูชา และมาเลเซีย เช่น การนำเข้าเฮโรอีนจำนวน 519.8 กรัม ทางด้าน  อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยชาวไนจีเรีย ซุกซ่อนโดยการกลืนเข้าไปในช่องท้องเพื่อนำส่งเครือข่ายในพื้นที่ กทม.  การลักลอบนำเข้าเฮโรอีน 15 ก.ก. จากอัฟกานิสถาน ผ่านทางประเทศมาเลเซีย โดยกลุ่มนักค้ายาเสพติดชาวแอฟริกัน ทางด่านสะเดา จ.สงขลา เป็นต้น

3. สถาณการณ์การค้ายาเสพติด

     สถานการณ์ด้านการค้ายาเสพติดทวีความรุนแรงมากขึ้น

     สถานการณ์ด้านการค้าเสพติด ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - 2553 จากข้อมูลการจับกุมผู้ต้องหาคดีค้ายาเสพติด พบว่า ผู้ค้ายาเสพติดถูกจับกุมเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปัญหาในช่วงก่อนประกาศสงครามกับยาเสพติดเมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งมีผู้ถูกจับกุมในคดีค้ายาเสพติดไม่เกิน 50,000 คน แต่ในปี 2552 มีผู้ถูกจับกุมในคดีค้ายาเสพติดถึง 56,853 คนสำหรับในปี 2553 เท่าที่มีการรายงานเข้าสู่ระบบ มีผู้ถูกจับกุมในคดีค้ายาเสพติด 42,243 คน นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลสัดส่วนผุ้ต้องหาคดีค้ายาเสพต่อประชากรเพื่อดูความชุก พบว่า สัดส่วนผู้ต้องคดีค้ายาเสพติดเพิ่มขึ้น,อย่างต่อเนื่อง จากเดิม 52 คน ต่อประชากร 100,000 คนในปี 2548 เป็น 59, 68, 80, 90, และ 73 คน ต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2549 - 2553 โดยในปี 2553 พื้นที่ภาคใต้ มีสัดส่วนของจำนวนผ็ต้องหาต่อประชากรสูงที่สุดถึง 125/100,000 คน รองลงมาเป็น กทม. 100 / 100,000 คน และภาคกลาง 77 / 100,000 คน

     ผู้ต้องหาคดีค้ายาเสพติดที่จับกุมได้ ส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 80 เป็นเพศชาย สำหรับอายุของ ผู้ต้องหา ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 22.4) อายุ 20 - 24 ปี รองลงมา (ร้อยละ 21.5) อายุ 25 - 29 ปี และ อายุ 15 - 19 ปี ตามลำดับ โดยกลุ่มอายุ 15 - 19 ปี มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 13.5 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 16.3 ในปี 2553

     มีการจับกุมเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง

     การจับกุมเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จากข้อมูลการจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญ พบว่า มีการจับกุมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 จับกุมได้ 127 คน ปี 2552 จับกุมได้ 116 คน และในปี 2553 จับกุมได้ 95 คน เป็นทหาร 71 คน ตำรวจ 15 คน จนท.เรือนจำ จนท.ปกครอง จนท.ส่วนท้องถิ่น และไม่ระบุอาชีพอีก อย่างละ 2 คน

     นักค้ามีความระมัดระวังตัวมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะค้ายามากกว่า 1 ชนิด

     กลุ่มการค้ายาเสพติด พบว่า กลุ่มนักค้ารายเก่าที่ถูกจับกุม หรือยุติบทบาทในช่วงของการประกาศสงครามกับยาเสพติด เริ่มกลับเข้ามาเคลื่อนไหวทำการค้าอีกครั้งโดยมีการดำเนินการในลักษณะของเครือข่ายการค้าที่เชื่อมโยงกันในหลายพื้นที่ บางลุ่มมีนักโทษที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำเป็นผู้สั่งการ ที่สำคัญคือพฤติกรรมการค้ายาเสพติดในระยะหลังผู้ค้าจะมีความระมัดระวังตัวมากขึ้น มีการพกพาอาวุธเพื่อเตรียมต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ ยังมีผู้เสพยาเสพติดเดิมผันตัวเองขึ้นมาเป็นนักค้ารายใหม่ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นด้วย และเมื่อพิจารณาข้อมูลการจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญ จำแนกตามชนิดยาเสพติด พบว่า นักค้ายาเสพติดมีแนวโน้มที่จะทำการค้ายามากกว่า 1 ชนิด เพิ่มมากขึ้น โดยชนิดยาเสพติดที่นักค้ามักจะค้าร่วมกัน ได้แก่ ยาบ้า และไอซ์

 

     กลุ่มนักค้าชาวต่างชาติเข้ามาเคลื่อนไหวทำการค้ายาเสพติดในประเทศมากขึ้น

     นอกจากนักค้าชาวไทย นักค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และนักค้าที่เป็นชาวเชาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนแล้ว ยังมีนักค้าชาวต่างชาติที่ถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดในประเทศ ข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มชาวแอฟริกันตะวันตก โดยมีชาวไนจีเรียเป็นบงการเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการนำเข้าและส่งออกยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบัน พบว่าเครือข่ายชาวแอฟริกันตะวันตกมีเครือข่ายอยู่ในทุกทวีปทั่วโลก มีการกระทำความผิดทุกรูปแบบ จากการข่าวระบุว่า ประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งของเครือข่ายนี้ ในการที่จะใช้เป็นฐานบัญชาการ เนื่องจากผู้ประเทศไทยมีปัจจัยที่เอื้อในหลายๆด้าน เช่น เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ค่าครองชีพไม่แพง ยาเสพติดหาได้ง่าย โดยในช่วงปี 2553 นี้สามารถจับกุมผู้ต้องหาที่เป็นชาวต่างชาติได้ 2,068 คน ลดลงจากช่วงก่อนหน้านี้ ที่จับกุมได้ 2,869 คน ส่วนใหญ่ยังคงเป็นนักค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว 636คน (ร้อยละ 30.8) พม่า 610 คน (ร้อยละ 29.5) มาเลเซีย 152 คน (ร้อยละ 7.4) และกัมพูชา 116 คน (ร้อยละ 5.6 )แต่ที่น่าสนใจ คือ ในช่วง 2-3 ปีหลัง มีการจับกุมกลุ่มเครือขายนักค้าชาวอิหร่านและชาวไนจีเรีย เพิ่มขึ้นมาก โดยสามารถจับกุมชาวอิหร่านได้ 86 คน (ร้อยละ 4.2) จากเดิมที่จับกุมได้ไม่เกิน 17 คน (ร้อยละ 0.7)จับกุมนักค้าชาวไนจีเรียได้ 63 คน (ร้อยละ 3.0) จากเดิมที่จับกุมได้ไม่เกิน 17 คน (ร้อยละ 0.7) นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังกลุ่มชาวฝรั่งเศษ เยอรมัน และอังกฤษ ที่มีแนวโน้มเข้ามากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมากขึ้นเช่นกัน ชนิดยาเสพติดที่ผู้ค้าชาวต่างชาติเข้าไปเกี่ยวข้อง ยาบ้า เป็นชาว สปป.ลาว พม่า และกัมพูชา ไอซ์ เป็นชาวอิหร่าน มาเลเซีย และไนจีเรีย เฮโรอีน เป็นชาวปากีสถาน และมาเลเซีย เอ็กซ์ตาซี เป็นชาวมาเลเซีย เคตามีน เป็นชาวมาเลเซีย และอินเดีย โดเคน เป็นชาวไนจีเรีย และฟิลิปปินส์

 

     รูปแบบวิธีการซุกซ่อนลำเลียงยาเสพติดในช่วง 5 ปี ทีผ่านมา พบว่า เดิมส่วนใหญ่เป็นการซุกซ่อนในร่างกาย โดยการซุกซ่อนในทวารหนักหรือช่องคลอด แต่สัดส่วนมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การซุกซ่อนในยานพาหนะและการซุกซ่อนในสัมภาระมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2553 การซุกซ่อนลำเลียงยาเสพติด ส่วนใหญ่ เป็นการซุกซ่อน ในสัมภาระ (ร้อยละ 29.5) เช่น ในกระเป๋า เดินทาง รองลงมาเป็นการซุกซ่อนในยานพาหนะ (ร้อยละ 23.9) โดยทำเป็นซ่องลับ และการซุกซ่อนในร่างกาย (ร้อยละ 9.4 ) โดยการกลืน

     การจับกุมที่ยึดยาบ้าตั้งแต่ 100,000 เม็ด ขึ้นไป เพิ่มมากขึ้น

 

     การจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญที่สามารถยึดของกลางยาบ้าได้ในจำนวนมากในแต่ละคดีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มสูงชึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคดีที่ยึดยาบ้าของกลางระดับตั้งแต่ 100,000 เม็ดขึ้นไปในช่วงนี้ สามารถจับกุมได้ถึง 91 คดี ผู้ต้องหา 180 คน คดี ยึดยาบ้าได้ถึง 30,644,640 เม็ด หรือประมาณกว่าร้อยละ 64 ของปริมาณของกลางที่ยึดได้ทั้งหมด (เฉลี่ย 336,754 เม็ด / คดี) ซึ่งในปี 2549 จับกุมได้เพียง 19 ผู้ต้องหา 49 คน ยุดยาบ้าได้ 22.9 ของปริมาณของกลางที่ยึดได้ทั้งหมด พื้นที่จับกุมที่สำคัญส่วนใหญ่ยังคงเป็นการจับกุมได้ในพื้นที่ภาคเหนือเป็นหลัก แต่ในช่วง 2-3 ปีให้หลัง การจับกุมได้ได้ในพื้นที่ภาคกลาง และกทม.มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ที่มีการจับกุมมากในปี 2553 ได้แก่ กทม.(21 คดี) เชียงราย (10 คดี) เชียงใหม่ (9 คดี) ปทุมธานี (8คดี) สมุทรปราการ (4 คดี) ลำปาง ชลบุรี นครราชสีมา และอำนาจเจริญ (จังหวัดละ 2 คดี)

     สำหรับการจับกุมที่ยึดยาบ้าระดับตั้งแต่ 10,000 -99,999 เม็ด ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2553 จับกุมได้ 251 คดี ยาบ้า 8,090,725 เม็ด (เฉลี่ย 32,234 เม็ด / คดี) เพิ่มชึ้นจากปี 2549 ที่จับกุมได้เพียง 137 คดี ยาบ้า 3,989,196 เม็ด (เฉลี่ย 29,118 เม็ด / คดี) ส่วนการจับกุมที่ยึดของกลางระดับ 1,000 - 9,999 เม็ด และระดับต่ำกว่า 1,000 เม็ด ทั้งจำนวนคดี จำนวนผู้ต้องหา และปริมาณของกลางที่ยึดได้มีสัดส่วนลดลง

 

     นอกจากนี้ยังมีการจับกุมคดียาเสพติดที่สามารถยึดของกลาง ยาบ้าได้มากกว่า 1 ล้านเม็ด โดยเริ่มจับกุมได้ครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 โดยมีคดีที่น่าสนใจดังนี้

     คดีแรก วันที่ 24 ส.ค. 2551 ตร.ภ.จว.เชียงราย ร่วมกับ สภ.แม่สาย และสภ.เมืองเชียงรายจับกุมผู้ต้องหา 5 คนพร้อมของกลางยาบ้าบรรจุในถุงพลาสติกสีดำ ใส่ในกระสอบปุ๋ยสีฟ้า จำนวน 8 กระสอบ รวมบาบ้าทั้งสิ้น 1,714,000 เม็ด ซุกซ่อนอยู่ในกองข้าวโพดที่บรรทุกมากับรถบรรทุกสิบล้อ ที่ บ้านป่าสักขวาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ต่อเนื่องทางเข้าท่าอากาศยานสากล จ.เชียงราย จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การว่ารับจ้างลำเลียงยาบ้าไปส่งที่ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี            

     คดีที่ 2 วันที่ 29 ธันวาคม 2552 บช.ปส. จับกุมผู้ต้องหา 2 คน พร้อมของกลางยาบ้า 100,000 เม็ด ที่ลานจอดรถห้างสรรพสินค้า ย่านรามอินทรา กทม. จากนั้นขยายผลไปตรวจค้นบ้านพักย่านบางเขน พบยาบ้าอีก 1,880,000 เม็ด เฮโรอีน 10 แท่งน้ำหนักรวม 3.5 ก.ก. และ ไอซ์ 32 ก้อน น้ำหนักรวม 32 กิโลกรัม จากการสืบสวนทราบว่านักค้าดังกล่าวเป็นเครือข่ายนักค้าชาวจีนฮ่อ ในพื้นที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ รับยาบ้ามาจากกลุ่มว้ ลำเลียงลงมาช่วงเดือน พฤศจิกายน 2 ครั้ง ส่งทางชิปปิ้ง นำแหล่งเก็บโดยใช้ผลไม้อำพราง

     คดีที่ 3 วันที่ 28-30 ม.ค. 2553 สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ บช.ปส. จับกุมเครือข่ายนักค้ายาเสพติดรายสำคัญ รวมผู้ต้องหา 9 คน วิสามัญฯ 1 คน ยาบ้ารวม 3,003,772 เม็ด และไอซ์ 2 ก.ก. ลักลอบนำเข้าจากชายแดนภาคเหนือ มาเก้บพักที่ย่านเทพารักษ์ จ.สมุทรปราการก่อนนำส่งมอบลูกค้าจากการสืบสวนทราบว่ายาบ้าทั้งหมดเป็นของเครือข่ายนักค้ายาเสพติดที่เป็นชาวเขาเผ่าลีซอ ลักลอบนำเข้าทาง จ. เชียงราย ลำเลียงเข้ามาในพื้นที่ตอนในพร้อมกันทั้งหมด ส่วนใหญ่เพื่อกระจายในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และภาคกลาง และมีบางงส่วนส่งต่อไปยัง จ.ภูเก็ต จากการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของเม็ดยา พบว่า ยาดังกล่าวเป็นของกลุ่มว้า

 

     คดีที่ 4 วันที่ 27 มี.ค. 2553 สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ บช.ปส. ตร.ภ.5 ศปก.ทบ.จับกุมผู้ต้องหา 3 คน พร้อมของกลางยาบ้า 1,550,000 เม็ด ที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ต่อเนื่องบ้านพักใน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ยึดอายัดทรัพย์สิน 11 รายการ การจับกุมครั้งนี้ เป็นการสืบสวนขยายผลจากคดีเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2552 ที่สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ บช.ปส. ตร.ภ.5 บก.ทล. และ ศปก.ทบ. จับกุมยาบ้า 780,000 เม็ด ที่ด่านตรวจพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และจับกุมอีก 1 คดี ยาบ้า 500,000 เม็ด ที่สถานีบริการน้ำมันเชลล์สี่แยกห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเป็นเครือข่ายนักค้ายาเสพติดชาวม้งในพื้นที่บ้านโป่งนก ต.สันสลี อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย มาเช่าบ้านใน จ.ปทุมธานี เพื่อเก็บพักยาเสพติดก่อนส่งให้ลูกค้าใน กทม. และภาคกลาง

 

     คดีที่ 5 วันที่ 20 เม.ย. 2553 สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ บช.ปส.ตร.ภ.5 ตร.ภ.จว.เชียงราย ฉก.ม.2 กกล.ผาเมือง และ ศปก.ทบ. จับกุมชาวเขาเผ่าลีซอ 1 คนและภรรยาซึ่งเป็นชาเขาเผ่ามูเซอพร้อมของกลางยาบ้า 2,100,000 เม็ด ที่บ้านพักในเขตบึงกุ่ม กทม.

     คดีที่ 6 วันที่ 22 มิ.ย. 2553 ตร.ภ.5 จับกุมชาวเขาเผ่าม้ง 3 คน พร้อมของกลางยาบ้า 1,200,00 เม็ด ซุกซ่อนไปกับรถบรรทุก 6 ล้อ บรรทุกพืชผัก ซึ่งได้มีการดัดแปลงเป็นทำช่องลับไว้ที่กระบะพื้นด้านหลัง รถยนต์กระบะ 1 คัน ซึ่งเป็นรถนำทาง เหตุเกิดที่ บนถนนสายเชียงใหม่ – ลำป่าง ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ต่อเนื่อง บก.สส.ภ.5 ถนนมหิดล อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ตรวจสอบฐานข่าว พบผู้ต้องหาคนหนึ่ง เคยถูก สภ. เวียงป่าเป้า จับกุมข้อหาเสพยาบ้า เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2550

 

     ยังคงมีการบงการการค้ายาเสพติดจากผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำ และขายวงไปยังเรือนจำกลางจังหวัด และเรือนจำจังหวัดในหลายพื้นที่                         

     สำหรับการจับกุมคดียาเสพติดที่ผู้ต้องหาให้การว่ามีการสั่งการจากนักโทษที่ถูกคุมขังในเรือนจำ มีแนวโน้มที่จะขายตัวเพิ่มขึ้น โดยในปี 2551 สามารถจับกุมคดียาเสพติดที่เชื่อมโยงกับนักค้ายาเสพติดที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำได้ 5 คดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำ 4 แห่ง ได้แก่ เรือนจำกลางคอลองเปรม เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางเขาบิน และทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ในปี 2552 มีการจับกุมคดียาเสพติดที่เชื่อมโยงกับนักค้ายาเสพติดที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำทั้งสิ้น 97 คดี ใน 14 เรือนจำ ส่วนในปี 2553 จับกุมทั้งสิ้น 90 คดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังในเรือนจำต่างๆ 20 เรือนจำ เช่น เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางเขาบิน ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เรือนจำพิเศษธนบุรี เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา เรือนจำคลองไผ่ เรือนจำกลางระยอง เรือนจำกลางชลบุรี เรือนจำกลางสงขลา เรือนจำจังหวัดนนทบุรี เรือนจำจังหวัดกาญจนบุรี  เรือนจำจังหวัดลำปาง และเรือนจำจังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะหลังนอกจากจะมีการสั่งการจากผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำกลาง แล้วยังมีการขยายตัวไปยังเรือนจำจังหวัดในหลายพื้นที่ โดยในปี 2553 มีการจับกุมที่น่าสนใจ ดังนี้

 

     คดีที่ 1 วันที่ 17 ก.ค. 2553 บก.ภ.จว.สมุทรปราการ จับกุมผู้ต้องหา 1 คน พร้อมของกลางไอซ์ จำนวน 6 ถุง รวมน้ำหนัก 3 ก.ก. ที่ริมถนนตรงข้ามห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาพระประแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการต่อเนือ่ง ห้องพักในซอยประชาอุทิศ 69 เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จับกุมสืบทราบว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติด อยู่ในเครือข่าย ผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวาง จึงเฝ้าสังเกตการณ์จนพบผู้ต้องหาขับรถยนต์กระบะ มาจอดรถังที่เกิดเหตุ จึงแสดงตัวเข้าตรวจค้น พบไอซ์ 2 ถุง น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม วางอยู่บนเบาะนั่งด้านหลังคนขับ จากนั้น ขยายผลตรวจค้นห้องพักของผู้ต้องหา พบไอซ์อีก 4 ถุง รวมน้ำหนัก 2 ก.ก. จากการตรวจสอบพบประวัติพบว่าเคยถูก สภ.เมืองระนอง จับกุมข้อหาครอบครองพืชกระท่อม 400 กรัม เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2547

     คดีที่ 2 วันที่ 31 ก.ค. 2553 บก.ภ.จว.ปัตตานี ร่วมกับ บช.ปส. สภ. เมืองพัทลุง และสำนักงาน ป.ป.ส. จับกุมผู้ต้องหา 5 คน พร้อมของกลางกัญชาอัดแท่งบรรจุกระสอบปุ๋ย น้ำหนักรวม 392 ก.ก. ซึ่งวางไว้ที่กระบะรถยนต์ โดยมีกระสอบบรรจุดินปลูกต้นไม้วางทับด้านบน เหตุเกิที่บ้านพัก ใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ต่อเนื่อง ห้องพักโรงแรม อ.เมือง จ.พัทลุง จากการสอบสวนผู้ต้องหารายหนึ่งให้การว่า เป็นผู้ลำเลียงกัญชาในขบวนการส่งออกกัญชารายสำคัญไปประเทศมาเลเซีย โดยจะมารับกัญชาจากกลุ่มผู้ลำเลียงในพื้นที่ จ.พัทลุง และนำไปส่งให้บุคคลในเครือข่ายที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ส่วนผู้ต้องหาอีกรายหนึ่งให้การว่า เป็นหลานของผู้ต้องหารายแรกและถูกชักชวนให้ลำเลียงกัญชามาส่งผู้รับที่ จ.พัทลุง โดยไปรับกัญชาที่ตลาดวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยผู้ต้องหารายแรก จะเป็นผู้ขับรถสำรวจเส้นทางในการลำเลียงส่วนผู้ต้องหาคนที่ 3 ให้การว่า รับจ้างลำเลียงกัญชาจากอดีตนักโทษคดียาเสพติด ซึ่งถูกขังพร้อมกันที่ทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา ให้นำกัญชามาส่งให้ลูกค้าที่ จ.พัทลุง และได้ชักชวนให้ผู้ต้องหาทั้งหมดร่วมลำเลียงกัญชา ตรวจประวัติ พบผู้ต้องหา 2 คน เคยถูกจับกุมในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด

 

     คดีที่ 3 วันที่ 3 ส.ค. 2553 สภ.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จับกุมเครือข่ายการค้ายาเสพติดในพื้นที่ จ.ชลบุรี ได้ผู้ต้องหา 9 คน ของกลาง ยาบ้า 6,005 เม็ด ไอซ์ 6.25 กรัม กัญชา 4.3 กรัม ฝิ่นดิบ 1.4 กรัม เงินสด 359,100 บาท และอาวะปืนจำนวน 2 กระบอก เหตุเกิดที่ บ้านพักใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งการจับกุมครั้งนี้ เป็นการจับกุมได้นักค้ายาเสพติดรายสำคัญที่เริ่มต้นจากจับกุมผู้เสพ แล้วขยายผลอยางต่อเนื่อง จนถึงเจ้าของยาเสพติดในระดับขายส่ง ซึ่งจากการสอยสวนผู้ต้องหาให้การว่า ยาบ้าดังกล่าวเป็นของนักโทษที่อยู่ในเรือนจำกลางจังหวัดราชบุรี โดยจะโทรศัพท์สั่งให้คนซึ่งอยู่นอกเรือนจำ นำมาส่งให้ เพื่อส่งให้กับลูกค้าอีกทอดหนึ่ง โดยจะได้รับค่าตอบแทนในการส่งมัดละ 5,000 บาท เคยทำมาแล้ว 3 ครั้ง และจากการตรวจสอบพบประวัติผู้ต้องหา พบผู้ต้องหา 5 คน มีประวัติเคยถูกจับกุมในคดียาเสพติดมาก่อน

     คดีที่ 4 วันที่ 22 ส.ค. 2553 สน.คลองตัน จับกุมผู้ต้องหา 2 คน พร้อมของกลางยาบ้า 10,000 เม็ด รถยนต์กระบะ 1 คัน และโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง เหตุเกิดที่ ซอยพระรามเก้า 58 ถ.พระราม 9 เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ การจับกุมครังนี้ สืบเนื่องจากเมื่อ วันที่ 22 ส.ค. 2553 ที่ สน.คลองตัน จับกุมผู้ต้องหา 1 คน พร้อมของกลางยาบ้า 100 เม็ด จากการขายผลทราบว่านายผู้ต้องหาสั่งซื้อยาบ้าผ่านนักโทษคดียาเสพติด อยู่ในเรือนจำกลางเขาบิน จ.ราชบุรี ให้ความร่วมมือติดต่อสั่งซื้อยาบ้า จำนวน 10,000 เม็ด โดยนักโทษดังกล่าว แจ้งให้ผู้ต้องหาไปรับยาบ้าของกลางจากผู้ต้องหาอีกคน ตามวันและสถานที่เกิดเหตุ จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การว่าทำมาแล้ว 5-6 ครั้ง รับค่าจ้างครั้งละ 25,000 บาท ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ประสานเรือนจำกลางเขาบิน เพื่อตรววจสอบแล้ว และจากการตรวจสอบพบว่าผู้ต้องหาที่ 1 เคยถูก สน.คลองตันจับกุมในคดียาเสพติดมาแล้ว 6 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2537-2541 ส่วนผู้ต้องหาที่ 2 เคยถูก สน.อุดมสุข จับกุมข้อหาครอบครองยาบ้า เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2544 

 

     คดีที่ 5 วันที่ 22 ส.ค. 2553 บก.น.5 ร่วมกับ สน.ทุ่งมหาเมฆ จับกุมผู้ต้องหา 1 คน พร้อมของกลางยาบ้า 6,200 เม็ด ไอซ์ 400.39 กรัม เอ็กซ์ตาซี 800 เม็ด ยาอิริมิน (Nimetazepam) 800 เม็ด อาวุธ ปืน 1 กระบอก พร้อมกระสุนโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง อุปกรณ์การเสพยาบ้าและไอซ์ อุปกรณ์การแบ่งบรรจุ สลิปการโอนเงินผ่านตู้ ATM ของธนาคาร ต่างๆ จำนวนมาก เหตุเกิดที่ บ้านพักในชุมชนเย็นอากาศ 2 ซ.เชื้อเพลิง แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การว่ารู้จักและคุ้นเคยกับนักค้ายาเสพติด ขณะต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรม เมื่อพ้นโทษออกจากเรือนจำ ได้โทรศัพท์ติดต่อซื้อขายยาเสพติด โดยจะมีคนนำยาเสพติดมาส่งให้ จากนั้นผู้ต้องหาจะโอนเงินผ่านธนาคารต่างๆ ทางตู้ ATM ซึ่งบัญชีธนาคารจะเป็นชื่อของคนอื่นหลายคนไม่ซ้ำกัน

     คดีที่ 6 วันที่ 24 ส.ค. 2553 สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ บก.ภ.จว. สงขลา และ สภ.หาดใหญ่ จับผู้ต้องหา 3 คน พร้อมของกลางยาบ้า 10,094 เม็ด รถจักรยานยนต์ 1 คัน และโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง เหตุเกิดที่ริมถนนใต้เสาไฟฟ้า ที่ป้ายบอกทางเข้าบ่อตกปลา ถ.บ้านพรุ-กองบิน 56 อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ต่อเนื่อง ปากทางเข้าร้านอาหารโกจ้อง ถ.เลียบริมคลอง ร.1 ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และบ้านพักใน ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จากการสอบสวน ผู้ต้องหาให้การว่ายาบ้าดังกล่าวเป็นของผู้ต้องขังคดียาเสพติดอยู่ที่เรือนจำกลางจังหวัดสงขลา โดยจะมีผู้ร่วมงานนำยบ้ามาส่งให้ตนเพื่อเก็บซุกซ่อนไว้ที่พักของผู้ต้องหาอีกคนหนึ่งก่อนนำไปส่งให้กับลุกค้าตามจุดนัดหมาย จากการตรวจสอบประวัติพบว่าผู้ต้องหารายหนึ่ง (ขณะอายุ 15 ปี) เคยถูก สภ.อ.หาดใหญ่ จับกุมในข้อหาครอบครองยาบ้า 1 เม็ด เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2543 ต่อมา วันที่ 16 ม.ค. 2544 ศาลจังหวัดสสงขลา (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) พิพากษาให้รอการกำหนดโทษ 2 ปี คุมประพฤติ 1 ปี รายงานตัว 3 เดือน / ครั้ง

 

     พื้นที่การค้ายาเสพติดที่จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษมี 29 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร กาญจนบุรี ชุมพร สุราษฏ์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา และกทม.

 

4. สถานการณ์การแพร่ระบาด

 

     ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2549 - 2553 แนวโน้มผู้เข้าบำบัดรักษามีแนวโน้มที่สูงขึ้นโดยตลอด จาก 50,109 คน ในปี  2549 เป็น 115,445 คน ในปี 2552 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า และในปี 2553 เท่าที่ได้รับรายงานในขณะนี้ มีผู้เข้าบำบัดรักษาจำนวน 98,406 คน จากการคาดการณ์พบว่าในปี 2554 จะมีจำนวนผู้เข้าบำบัดรักษาประมาณ 191,447 คน สำหรับอัตราผู้เข้ารับการรักษาต่อประชากรหรือ ความชุกของปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นตัวชี้ความรุนแรง ของปัญหาแพร่ระบาดในพื้นที่ ภาพรวมพบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 14 คนต่อประชากร 10,000 คนในปี 2551 เป็น 15 คนต่อประชากร 10,000 คน ในปี 2553 และเมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

     พื้นที่ภาคใต้มีผู้เข้ารับการบำบัดในระบบสมัครใจสูง

     จากนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งเน้นให้มีการชักจูงให้ผู้เสพยาเสพติดในพื้นที่เข้ามาบำบัดรัษาโดยเฉพาะในช่วงภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันระยะที่ 1,2, และ 3 แต่จากข้อมูลปรากฏว่าสัดวส่วนของผู้เข้ามาบำบัดรักษาโดยสมัครใจยังคงมีสัดส่วนน้อย ซึ่งสัดส่วนนี้มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในช่วงแคบๆ ประมาณร้อยละ 23-27 แสดงให้เห็นว่ากระบวนการชักจูงให้ผู้เสพ/ผู้ติดเข้ามาสู่การบำบัดรักาษยังคงมีปัญหาในการดำเนินการเกือบทุกพื้นที่ โดยพื้นที่ที่มีผู้เข้าบำบัดรักษาโดยระบบสมัครใจในเกณฑ์สูง คือ กทม. จ.สมุทรปราการ เชียงราย เชียงใหม่ ปทุมธานี สุราษฏร์ธานี สงขลา และนราธิวาส ส่วนพื้นที่ที่มีสัดส่วนของผู้สมัครใจสูงกว่าระบบการรักษาแบบอื่น จะเป็นพื้นทีภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ได้แก่ จ.ชุมพร สุราษฏร์ธานี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และตาก

     ยาบ้ายังคงเป็นตัวยาที่ได้รับความนิยมมาก ขณะเดียวกัน ไอซ์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

    ในด้านข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้าบำบัดรักษา พบว่า เพศชายจะมีสัดส่วนในการเข้าบำบัดรัษามากกว่าเพศหญิง กลุ่มอายุระหว่าง 15 - 19 ปี จะมีสัดส่วนมากเป็นอันดับหนึ่งแทนที่กลุ่มอายุ 20 - 24 ปี ในด้านตัวยาที่แพร่ระบาด ยาบ้ายังคงเป็นตัวยาที่ได้รับคามนิยมสูง (ร้อยละ 76 - 83) และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย รองลงมาเป็นกัญชา (ร้อยละ 6 - 10) และสารระเหย (ร้อยละ 4 - 5 ) ส่วนชนิดยาเสพติดที่ต้องติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด คือพืชกระท่อม สี่คูณร้อย และไอซ์ ซึ่งได้จากข้อมูลในข่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่พบว่า มีแนวโน้มของผู้เข้ารับการบำบัดเพิ่มสูงขึ้น หากพิจารณาเป็นรายตัวยาที่สำคัญ จะพบว่ายาเสพติดแต่ละชนิดมีการกระจายตัวและมีความหนาแน่นในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน สารระเหย

     พบมากในกลุ่มอายุระหว่าง 15 - 19 ปี มีถึงร้อยละ 50 พื้นที่ที่ผู้เข้าบำบัดรักษาในเกณฑ์สูง มีจำนวน 13 จังหวัดอยุ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด ภาคเหนือ 1 จังหวัด และกทม. เฮโรอีน จะพบมากในกลุ่มอายุที่สูง คือ อายุ ระหว่าง 25-34 ปี พื้นที่ที่มีผู้บำบัดรักษาอยู่ในเกณฑ์สูงจะเป็นพื้นที่ในภาคใต้ คือ นราธิวาส  สงขลา ปัตตานี ยะลา สุราษฏร์ธานี กทม. สมุทรปราการ เชียงราย เชียงใหม่ ไอซ์ เป็นตัวยาเดียวที่จะพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากกลุ่มผู้ค้าพยายามชักจูงให้เห็นว่าการใช้ไอซ์จะทำให้หุ่นดี และยังช่วยให้ร่างกายไม่โทรม ส่วนพื้นที่ที่ผุ้เข้าบำบัดรักษาอยู่ในเกษฑ์สูงมี จำนวน 10 จังหวัด คือ กทม. ชลบุรี สุราษฏร์ธานี สงขลา นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม นครศรีธรรมราชา สมุทรปราการ

     และขอนแก่น พืชกระท่อม พื้นที่ที่มีผู้เข้าบำบัดรักษาอยู่ในเกณฑ์สูงเกือบทั้งหมดจะอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ แต่ที่อยู่ในเกณฑ์สูงมีจำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ กทม. สุราษฏร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ยะลา ตรัง พัทลุง ชุมพร ระนอง สงชลา สี่คูณร้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ ที่มีผู้เข้าบำบัดรักษาจะเป็นภาคใต้ แต่เริ่มมีการแพร่ระบาดไปสู่พื้นที่ภาคอื่น เพิ่มขึ้น โดยในปี 2551 ได้แก่ กทม ชลบุรี และในปี 2553 มีผู้นำเข้าบำบัดรักษาจากภาคอื่นๆเพิ่มขึ้น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.หนองคาย และบุรีรัมย์ ภาคเหนือ ได้แก่ จ. พะเยา นครสวรรค์ ภาคกลาง ได้แก่ จ.จันทบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งมีการแพร่ระบาดไปยังพื้นทื่อื่นๆ ทำให้เยาวชนมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการใช้สารเสพติด

     กลุ่มเยาวชน ( อายุ 15 - 24 ปี) ที่เป็นเป้าหมายสำคัญกลุ่มหนึ่งนั้น พบว่าลักษณะการแพร่ระบาดจะเหมือนกลุ่มผู้เข้าบำบัดรักษาทั่วไป คือยาบ้ายังคงเป็นยาเสพติดที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ส่วนชนิดยาเสพติดที่มีแนวโน้มสูงขึ้น คือ พืชกระท่อม สี่คูณร้อย และไอซ์ ในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาที่เข้ารับการบำบัดรักษาจะมีระดับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 41 - 47 ) ระดับชั้นมัธยมปลาย (ร้อยละ 16 - 19 ) และประถมศึกษา (ร้อยละ 12 - 16)

     เมื่อผู้ใช้ยาเสพติดเข้าสู่สถานบำบัดรักษาก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการบำบัดเจ้าหน้าที่จะต้องมีการจำแนกบุคคลดังกล่าวตามสภาพการใช้ คือ กลุ่มผุ้เสพ กลุ่มผู้ติดและกลุ่มผู้ติดรุนแรง ปรากฏว่ากลุ่มที่ถูกเจ้าหน้าที่วินิจแยว่าเป็นกลุ่มผู้เสพและกลุ่มผู้ติดรุนแรง มีแนวโน้มสัดส่วนเพิ่มชึ้น และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเสพยานั้นพบว่า มีจำนวนผู้ป่วยทางจิตเวชที่เกิดจากการเสพยาบ้าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2551 มีจำนวน 1,794 คน ปี 2552 มีจำนวน 1,695 คน และในปี 2553 มีจำนวน 1,633 คน

 

     ในด้านระยะเวลาที่อดยาได้หลังการบำบัดรักษาจากการสอบถามผู้เข้าบำบัดรักษายาเสพติดในทุกตัวยา พบว่าเกินร้อยละ 77 ที่รับว่าไม่สามารถอดยาได้เกิน 1 เดือน

     แม้ทำศึกษาย้อนกลับไป 5 ปี คงพบว่าสัดส่วนที่ได้ค่อนข้างที่จะคงที่ ซึ่งการที่ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาหันกลับมาใช้ยาเสพติดอีก จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ การไม่เป็นที่ยอมรับของคนในครอบครัวหรือชุมชน ประสิทธิภาพการบำบัด สภาพแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นในการแก้ไขปัญหา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรู้ถึงปัญหาของแต่ละคนอย่างชัดเจน

 

     แนวโน้มของผู้เสพรายใหม่เพิ่มขึ้น

 

     สำหรับผู้เสพรายใหม่ที่ใช้ยาเสพติดในปีนั้นและเข้าบำบัดรักษาในปีนั้นเลย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 3,676 คน ในปี 2549 เป็น 9,487 คน ในปี 2552 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 2.5 เท่า ขณะที่ปี 2553 เท่าที่ได้รับรายงานนั้นมีจำนวน 6,751 คน ในด้านตัวยาพบว่า ยาบ้ายังเป็นยาที่มีการใช้มากที่สุด (ร้อยละ 77 - 86) รองลงมาจะเป็นสารระเหย (ร้อยละ 6 - 8) และกัญชา (ร้อยละ 4 - 10) และตัวยาที่น่าจับตามอง คือ ไอซ์ กระท่อมและสี่คูณร้อย เพราะจากข้อมูลที่ได้มา ไอซ์จะมีผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ จาก 47 คน ในปี 2549 เป็น 142 คน ในปี 25653 หรือเพิ่มขึ้นกว่า  3 เท่า กระท่อมจาก 37 คน ในปี 2549 เป็น 136 คน ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าในขณะเดียวกัน สี่คูณร้อยก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จาก 4 คนในปี 2549 เป็น 28 คนในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่า เพศชายเข้ามาบำบัดรักษามากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 86 - 89) อายุที่มีผู้เข้ารับการบำบัดจะเป็นช่วงอายุระหว่าง 15 - 19 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 45 - 47) รองลงมาจะเป็นช่วงอายุระหว่าง 20 - 24 ปี (ร้อยละ 21 - 24)  และ 25 - 29 ปี (ร้อยละ 11 - 12 ) อาชีพที่ผู้เข้ารับการบำบัดมากที่สุดคืออาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 13 - 37) รองลงมาคือ ว่างงาน (ร้อยละ 21 - 26) และนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 13 - 23)

     พื้นที่ที่ควรจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ประกอบด้วย กทม. จ.ชลบุรี เชียงใหม่ กาญจนบุรี สมุทรปราการ เชียงราย นครปฐม นนทบุรี ราชบุรี สงขลา และนครศรีธรรมราช

 

แหล่งข้อมูล

 

1. สรุปข่าวสำคัญ สำนักปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส.

 

2. รายงานการประชุมหารือด้านการข่าวและการปราบปรามยาเสพติด สำนักปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส.

 

3. สำนักงาน ป.ป.ส.ภาค 1 - 9 / กทม.

 

4. รายงานการสำรวจฝิ่นปี 2552 / 2553 สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส.

 

5. ข้อมูลการตรวจพิสูจน์องค์ประกอบทางเคมีในเม็ดยาบ้า สถาบันวิชาการและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส.

 

6. สถิติการจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญ สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงาน ป.ป.ส.

 

7. การวิเคราะห์รูปแบบการกระทำผิด (แผนประทุษกรรม) คดียาเสพติด เดือนมกราคม - ธันวาคม 2553 สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงาน ป.ป.ส.

 

8. ข้อมูลการร้องเรียนของประชาชน ศูนย์เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส.

 

9. แบบรายงานการดำเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล (ศปป.1)

 

10. ข้อมูลผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดจากระบบ บสต. กระทรวงสาธารณสุข

Visitors: 309,531