องค์ประกอบในการฟื้นฟูและพัฒนาจิตใจ

 องค์ประกอบในการฟื้นฟูและพัฒนาจิตใจ บ้านพึ่งสุข

องค์ประกอบสำคัญในความสัมพันธ์ของศุนย์ฯ บ้านพึ่งสุข

 

 

โปรแกรมบำบัด

 

 

 

 ตารางเวลาดำเนินกิจกรรม

 

วัน

เวลา

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

อาทิตย์

06.30

ตื่นนอน

 

 

07.00

รับประทานอาหารเช้า

 

 

07.45

กลุ่มเตรียมประชุมภาคเช้า

 

 

08.00

กลุ่มประชุมภาคเช้า

ตื่นนอน

 

09.00

ประชุมทีมงาน และแยกย้ายทำงาน

รับประทานอาหารเช้า

ตื่นนอน

09.45

 

กลุ่มเตรียมประชุมภาคเช้า

 

10.00

 

กลุ่มประชุมภาคเช้า

รับประทานอาหารเช้า

11.00

 

ทำความสะอาดบ้าน

พักผ่อนตามอัธยาศัย เช่นอ่านหนังสือ เขียนจดหมาย

12.00

พักงาน

13.00

รับประทานอาหารกลางวัน

14.00

แยกย้ายทำงานต่อ

ทำความสะอาดบ้าน

พักผ่อนตามอัธยาศัย เช่นอ่านหนังสือ เขียนจดหมาย

16.00

เลิกงาน

16.30

เล่นกีฬา

18.00

อาบน้ำ

18.30

รับประทานอาหารเย็น

19.30

สนทนาระหว่างสมาชิก

20.00

กลุ่ม Peer Confrontation

กลุ่มสัมมนา

กลุ่ม Case Load

กลุ่มสัมมนา

กลุ่มระบายความรู้สึก

เล่มเกมส์และรับประทานของว่าง

กลุ่มประชุมภาคค่ำ

22.00

เข้านอน

ดูภาพยนตร์

เข้านอน

24.00

 

 

 

 

 

เข้านอน

 

 

สายงานบังคับบัญชาและแผนกงาน

 



ผู้ดูแลสมาชิกและผู้สังเกตุการณ์ (Coordinator & Chief Expeditor)

ผู้ดูแลสมาชิกประจำวัน จะมีหน้าที่หลักในการดูแลความเรียบร้อยของสมาชิกภายในศูนย์ฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพฤติกรรม หรืองานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ดูแลตารางเวลาประจำวันของศูนย์ฯ ถ่ายทอดการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่ตนเองเคยได้รับ แก่ผู้เข้ารับการอบรมที่มาใหม่ และรวมไปถึงการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสมาชิกในทีมที่ตนดูแล กับเจ้าหน้าที่ด้วย

หัวหน้าทีมต่างๆ (Department Head)

ดูแล วางแผน จัดการงานและติดตามผลงานในแผนกของตน หรืองานที่ได้รับมอบหมาย และคอยดูแลสมาชิกในทีม

ผู้สั่งการ / รองหัวหน้าทีม (Expeditor / Group Leader)

สำหรับผู้สั่งการจะดูแล ตรวจสอบ ความเรียบร้อย ตลอดจนติดตาม สังเกตเหตรุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในศุนย์ฯ เพื่อทำการรายงานต่อไป
ส่วนของรองหัวหน้าทีมจะมีการจัดการงานที่ได้รับมอบหมายมาจากหัวหน้าของตนให้เสร็จลุล่วง อย่างมีประสิทธิภาพ

สมาชิกทั่วไป (General Worker)

สมาชิกทั่วไป จะรับผิดชอบต่อตนเองและงานที่ตนได้รับมอบหมายเป็นหลัก และจะต้องทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศุนย์ฯ กำหนด เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ในระหว่างนั้นจะมีการประเมินผลในการพัฒนาเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมผ่านขั้นตอนสิทธ์ต่างๆ ต่อไป

สมาชิกที่ลงเรียนประสบการณ์ - อะไหล่ของบ้าน (Learning Experience & Spare Part)

สำหรับสมาชิกที่ลงเรียนประสบการณ์ เป็นสมาชิกที่ถูกเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และทัศนคติ อย่างชัดเจนและทันที ซึ่งอาจมาจากพฤติกรรมในเชิงลบของผู้เข้ารับการอบรมที่ซ้ำซาก หรือผิดกฏข้อใหญ่ของทางศูนย์ฯ ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น

 

     ส่วนด้านงานบำบัดนั้น ได้แบ่งออกเป็น 6 แผนก ดังต่อไปนี้

แผนกดูแลความสะอาด (House - keeping Department)

รับผิดชอบดูแลความสะอาด ความเรียบร้อยภายในตัวอาคารของศูนย์ฯ

แผนกตกแต่ง (Landscaping Decoration Department)

รับผิดชอบดูแลความสะอาด ความเรียบร้อย ความสวยงาม ของบริเวณภายนอกอาคารของศูนย์ฯ

แผนกพัสดุ  (Maintenace Department)

รับผิดชอบดูแลความสะอาด การซ่อมบำรุง อุปกรณ์ที่ชำรุดต่างๆ เบื้องต้น ที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

แผนกธุรการ (Business Office Department)

รับผิดชอบเอกสารต่างๆ ภายในศูนย์ฯ

แผนกผู้สั่งการ (Expeditor Department)

รับผิดชอบดูแลความเรียบร้อย และสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในศูนย์ฯ

แผนกครัว (Kitchen Department)

รับผิดชอบการทำอาหารในแต่ละมื้อ ให้แก่สมาชิกทุกคน

เครื่องมือและกิจกรรมในการฟื้นฟู

 

 

  1. การสัมภาษณ์ (Emotional Interview)

    เป็นการสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการอบรมใหม่ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมบุคคลอื่นๆ ได้มีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์ ไปพร้อมกับทางเจ้าหน้าที่ โดยจะเป็นการคัดเลือกผู้ที่เข้าร่วมสัมภาษณ์จาก ประสบการณ์ในอดีตที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ได้การเข้าถึงความรู้สึกและทัศนคติที่ถูกต้องและเหมาะสม

  2. กลุ่มเตรียมประชุมเช้า (Pre - Morning Meeting)

    เป็นกลุ่มที่รองรับการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในศูนย์ฯ ในแต่ละวันที่ผ่านมา ก่อนที่จะนำเสนอในกลุ่มประชุมเช้า โดยใช้เวลาก่อนเข้ากลุ่มประชุมเช้า (Morning Meeting) ประมาณ 15 นาที ซึงผู้เข้ารับการอบรมสามารถมีส่วนร่วมได้จาก การนำเสนอคติพจน์ประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ

  3. กลุ่มประชุมเช้า (Morning Meeting)

    เป็นกลุ่มที่เสริมสร้างแนวความคิดและทัศนคติในการมองสะท้อนเข้าหาตนเอง ตามหัวข้อที่สมาชิกส่วนใหญ่กำหนดขึ้นในแต่ละวัน นอกจากนั้นกลุ่มประชุมเช้ายังเป็นกลุ่มที่ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีส่วนร่วมในการแสดงออก ในด้านต่างๆ หรือความสามารถพิเศษต่างๆ ไม่ว่าเป็น สาระข้อมูล หรือความบันเทิงต่างๆ เช่น การเล่นดนตรี เป็นต้น

  4. กลุ่มระบายความรู้สึก (Encounter Group)

    เป็นกลุ่มที่จำเป็นต่อการพัฒนาด้านความรู้สึก แนวคิด ทัศนคติ ของผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งผู้เข้ารับการอบรม จำเป็นต้องสามารถพูดถึง ความรู้สึก และแนวคิดของตนเองได้

  5. กลุ่มว่ากล่าว ตักเตือน (Verbal Hair - Cut)

    เป็นกลุ่มที่รองรับ เมื่อผู้เข้ารับการอบรมมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม โดย แบ่งระดับการให้คำแนะนำ ออกเป็น 4 ประเภทคือ

    • Dealt with เป็นการให้คำแนะนำแบบ ตัวต่อตัว

    • Spoken to เป็นการให้คำแนะนำแบบ 3:1

    • Verbal Hair-Cut เป็นการให้คำแนะนำแบบ 5:1

    • Dose เป็นการให้คำแนะนำเฉพาะ สำหรับผู้เข้ารับการอบรมที่ลงเรียนประสบการณ์

    ทั้งนี้ลักษณะของการให้คำแนะนำนั้น จะมีรูปแบบในลักษณะ ดังต่อไปนี้

    • พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง

    • พูดถึงสาเหตุของข้อบกพร่องนั้นๆ

    • พูดถึงผลกระทบที่ตามมาของข้อบกพร่องนั้น

    • ให้คำแนะนำเรื่อง แนวทางการแก้ไข จัดการกับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น

    • สรุป

  6. การลงเรียนประสบการณ์ (Learning Experience)

    เป็นการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรมอย่างทันที เพราะระดับการให้คำแนะนำนั้น ไม่เพียงพอต่อข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นแบบซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า จึ้งจำเป็นต้องใช้กิจกรรมดังกล่าวมารองรับ


  7. กลุ่มสอบถาม (Peer Confrontation Group)

    เป็นกลุ่มเพื่อใช้แลกเปลี่ยนแนวความคิด ประสบการณ์ ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม เมื่อมีใครในกลุ่มเกิดปัญหาและไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ด้วยตนเอง

  8. กลุ่มสัมมนา (Seminar)

    เป็นรูปแบบการประชุมทั่วไป ตามหัวข้อที่ได้กำหนดไว้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ แก่ตัวผู้เข้ารับการอบรม

  9. กลุ่มปรึกษาเจ้าหน้าที่ประจำตัว (Case Load)

    เป็นกลุ่มที่ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีโอกาส ที่จะแจ้ง ร้องขอ และปรึกษา กับเจ้าหน้าที่ประจำตัว เป็นกาลเฉพาะ

  10. กลุ่มประชุมต่อเนื่อง (Extended Group)

    เป็นกลุ่มที่ใช้เวลาประมาณ 18 - 24 ชม. ในการสรุปเรื่องราวชีวิตของผู้เข้ารับการอบรม กลุ่มนี้เป็นกลุ่มสำหรับผู้ที่เตรียมความพร้อมกลับสู่สังคม

  11. กลุ่มประชุมภาคค่ำ (Evening Meeting)

    เป็นกลุ่มสรุปความรู้สึก และเรื่องราวต่างๆ ของผู้เข้ารับการอบรม ในแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถถ่ายทอด ความรู้สึก ของตนเองให้กับผู้อื่นได้ อย่างเหมาะสม

  12. กลุ่มประชุมทั้งบ้าน (House Meeting)

    เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสม จะมีการประชุมทั้งบ้านเพื่อพูดถึงเหตุการณ์ดังกล่าว

  13. กลุ่มประชุมทั้วไป (General Meeting)

    เป็นการประชุมทั่วไป เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด

  14. กลุ่มครอบครัวบำบัด (Family Counseling)

    เป็นกลุ่มที่จัดขึ้นเพื่อให้ครอบครัวของผู้เข้ารับการอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ข้อมูล และทัศนคติกับทางเจ้าหน้าที่โดยตรง
Visitors: 309,596