ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดที่ใช้แพร่หลายในเมืองไทย

ยาเสพติดคืออะไร?

     ยาเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีการ ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดๆก็ตาม เป็นช่วงระยะเวลาๆ หรือนานติดกัน จนทำให้ร่างกายทรุดโทรมและตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้น ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว เนื่องจาก

1. ต้องเพิ่มขนาดการเสพมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อเสพเข้าไปสักระยะจะเกิดภาวะดื้อยา ปริมาณยาเดิมไม่ สามารถทำให้เมาได้

2. เมื่อถึงเวลาเสพ หากไม่ได้เสพจะทำให้เกิดอาการขาดยา ทำให้ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือ จิตใจเพียงอย่างเดียว


ประวัติของยาเสพติด


     ยาหรือสารที่ถูกนำมาใช้อย่างผิดๆ มีใช้กันมานานตั้งแต่มนุษย์เริ่มค้นพบ ในสมัยโบราณยาหรือสาร เหล่านี้มักจะใช้ในพิธีทางศาสนา เช่นผู้ทำพิธีทางศาสนาของชาวอินเดียแดงในอเมริกากลาง ใช้ต้นไม้จำพวกกระบองเพชรซึ่งมีสารหลอนประสาท ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนเห็นภาพ ต่างๆ และเข้าใจว่า ตนสามารถติดต่อกับวิญญาณหรือเทพเจ้าได้ ชาวอินเดียนแดง เผ่าอินคา (Incas) ในอเมริกาใต้เคี้ยวใบโคคา (COCA) ซึ่งมีโคเคน

     โดยถือว่าเป็นของขวัญ ที่พระเจ้าประทานให้ แต่แรกใบโคคานี้ใช้เฉพาะในหมู่พวกกษัตริย์ของเผ่า แต่ต่อมาเมื่อประเทศสเปน เข้าครอบครองชนเหล่านี้ ใบโคคา ก็ถูกนำมาใช้ในหมู่ชาวอินเดียนแดงทั่วไปเพื่อช่วยให้พวกเขามีกำลังทำงานหนัก รับใช้ชาวสเปนได้ เมื่อวิทยาศาสตร์เจริญ ก้าวหน้าขึ้นยาหรือสารเสพติด ก็เพิ่มปริมาณและชนิดขึ้นและมี การนำมาใช้อย่างผิดๆ หรือเสพติดกันมาก อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ ฝิ่น

 


ความหมายของยาเสพติด

 

     ยาเสพติดหมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลายๆ ครั้ง

     ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ ดังนี้


1. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น

2. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช

3. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา

4. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

 

ประเภทของยาเสพติด

 

ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. แบ่งตามแหล่งที่เกิด จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

     1.1 ยาเสพติดธรรมชาติ คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น

     1.2 ยาเสพติดสังเคราะห์ คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น

2. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จะแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

     2.1 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 คือ เฮโรอีน แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ

     2.2 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2 คือ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีนโคเคอีน และเมทาโดน

     2.3 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 คือ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น

     2.4 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4 คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้

     2.5 ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 คือ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

3. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท จะแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

     3.1 ยาเสพติดประเภทกดประสาท คือ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท

     3.2 ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท คือ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน

     3.3 ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท คือ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย

     3.4 ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อมๆ กัน เช่น กัญชา

4. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก จะแบ่งได้เป็น 9 ประเภท ได้แก่

     4.1 ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน

     4.2 ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาลอะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น

     4.3 ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้

     4.4 ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน

     4.5 ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา

     4.6 ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา

     4.7 ประเภทใบกระท่อม

     4.8 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด

     4.9 ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจาก 8 ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่างๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่


วิธีการเสพยาเสพติด

1. ทางปากคือ

     - กิน เช่น ยาอี, ยากล่อมประสาทและยานอนหลับ เป็นต้น

     - เคี้ยว เช่น ใบกระท่อม, ใบโคคา, LSD เป็นต้น

     - อม เช่น เหล้าแห้ง, LSD เป็นต้น

     - อมไว้ใต้ลิ้น เช่น เฮโรอีน, โคเคน, LSD เป็นต้น

     - ซุกไว้ตามซอกเหงือก เช่น ฝิ่น เป็นต้น

     - ดื่ม เช่น แอลกอฮอล์, เครื่องดื่มผสมยากระตุ้น, ยากล่อม หรือหลอนประสาท, กัญชา เป็นต้น

2. จมูกคือ

     - สูด เช่น โคเคน, ยาเค เป็นต้น

     - ดม เช่น สารระเหย เป็นต้น

3. สูบ คือ

     - คลุกบุหรี่สูบ เช่น กัญชา, ฝิ่น, เฮโรอีน, โคเคน, ยาบ้า เป็นต้น

     - สูบบ้องอาจสูบผ่านน้ำหรือไม่ผ่านน้ำก็ได้ เช่น ฝิ่น, กัญชา,โคเคน, ยาบ้า เป็นต้น

     - สูบควันหรือไอระเหย เช่น ยาบ้า, โคเคน เป็นต้น

4. ฉีด คือ

     - ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เช่น เฮโรอีน เป็นต้น

     - ฉีดเข้ากล้าม เช่น มอร์ฟีน, เฮโรอีน เป็นต้น

     - ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เช่น ยาบ้า,เฮโรอีน, โคเคน เป็นต้น

 

ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย

 

1. ยาบ้า

 



2. ยาอี ยาเลิฟ หรือ เอ็กซ์ตาซี

 



3. ยาเค

 



4. โคเคน

 



5. เฮโรอีน

 



6. กัญช

 



7. สารระเหย

 



8. LSD

 


9. ฝิ่น

 



10. มอร์ฟีน

 



11. กระท่อม

 



12. เห็ดขี้ควาย


 

 


13. บุหรี่

 



14. สุรา

 

สาเหตุของการติดยาเสพติด

 

1. อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัสซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยคิดว่า "ไม่ติด" แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด

2. ถูกเพื่อนชักชวนส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง

3. ถูกหลอกลวง โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด

4. ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ


5. เกิดจากความคะนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความเก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด


6. ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวย ที่จะส่งเสริม และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รออยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด


การป้องกันปัญหายาเสพติด


1. ช่วยพ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี การมั่วสุมใน อบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างทีี่ดีแก่สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่นกันใช่เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมัานเพียร

2. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมี ปัญหา


3. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติดวิธีการใช่ยาอย่างปลอดภัย


4. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงานของพ่อ แม่ ภายในบ้าน


โทษและพิษภัยของยาเสพติด


     พิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง

     เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ

 

วิธีสังเกตอาการผู้ที่ติดยาเสพติด


1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก

     1.1. สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย

     1.2. ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก

     1.3. ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ

     1.4. ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง

     1.5. มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน

     1.6. ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย

2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ จะสังเกตได้จาก

     2.1. เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล

     2.2. ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่

     2.3. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง

     2.4. พูดจาก้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง

     2.5. ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ

     2.6. ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ

     2.7. ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย

     2.8. พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว

     2.9. มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด

     2.10. ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ

     2.11. ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา

     2.12. ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย

     2.13. มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ

3. อาการขาดยา จะสังเกตได้จาก

     3.1. น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย

     3.2. กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด

     3.3. ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ

     3.4. ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก

     3.5. ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด

     3.6. มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง

     3.7. เป็นตะคริว

     3.8. นอนไม่หลับ

     3.9. เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้

 

การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย

 

     การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกายมี 2 ขั้นตอน

 

1. การตรวจขั้นต้น:  ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป ความแม่นยำในการตรวจปานกลาง สะดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่

2. การตรวจขั้นยืนยัน: เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง

 

ขอขอบคุณ https://ofknowledge.wikispaces.com

Visitors: 309,556