จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูและพัฒนาจิตใจ

การบำบัดรักษาทางจิตเวช
Psychiatric Therapies

 
การบำบัดรักษาทางจิตเวช จำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 6 ประเภท

     ๏   การบำบัดทางกาย (Somatic Therapy)

     ๏   นิเวศบำบัด (Milieu Therapy)

     ๏   พฤติกรรมบำบัด (Behavioral Therapy)

     ๏   การบำบัดทางจิต (Psycho Therapy)

     ๏   ครอบครัวบำบัด (Family Therapy)

     ๏   กิจกรรมบำบัด (Activity Therapy Group)
 
การบำบัดทางกาย (Somatic Therapy)

     ๏   การบำบัดด้วยยา (Psycho-Pharmacological Therapy)

     ๏   การบำบัดด้วยไฟฟ้า (Electro Convulsion Therapy)

     ๏   การบำบัดโดยการผูกมัดและจำกัดขอบเขต (Restrain)
 
นิเวศน์บำบัด (Milieu Therapy)

     หมายถึง  การจัดสภาพบรรยากาศเพื่อการบำบัดอย่างมีจุดมุ่งหมาย เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชเท่านั้น

     ๏   กลุ่มรับสมาชิกใหม่ (Admission Group)

     ๏   กลุ่มปรึกษาหารือในครอบครัว (Multifamily Orientation Group)

     ๏   กลุ่มชุมชนบำบัด (Community Meeting)

     ๏   กลุ่มเตรียมตัวกลับบ้าน (Predischarge Group)
 
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy)

     หมายถึง  การรักษาผู้ป่วยทางจิตเวช ซึ่งมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เฉพาะเจาะจงโดยยึดหลักของการเรียนรู้
                     เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน → พฤติกรรม → ผลที่ตามมา
 
การบำบัดทางจิต (Psychotherapy)

     หมายถึง การรักษาความผิดปกติทางด้านจิตใจหรืออารมณ์ ด้วยวิธีการพูดคุยกับผู้ป่วย หรือบางวิธีอาจไม่ใช้วาจา (Nonverbal Communication) แบ่งเป็น 2 ลักษณะ

     ๏   จิตบำบัดรายบุคคล (Individual Psychotherapy)

     ๏   จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
 
ครอบครัวบำบัด (Family Therapy)

     หมายถึง  การทำจิตบำบัดกลุ่มวิธีหนึ่ง ที่มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วย เป้าหมายมิใช่เพื่อช่วยเหลือคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มุ่งเน้นให้เกิดความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นไปอย่างสอดคล้องกลมกลืน
 
กิจกรรมบำบัด (Activity Therapy Group)

     หมายถึง การบำบัดผู้ที่มี ปัญหาทางจิตโดยการจัดกิจกรรมหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อสร้างความสนุกสนานกระตุ้นความคิด ให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 
เป้าหมายสำคัญของการทำกลุ่มบำบัดมีดังต่อไปนี้

     ๏   กระตุ้นให้มีการสื่อสาร

     ๏   เสริมสร้างทักษะใหม่ ๆ ในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

     ๏   การเพิ่มระยะการเอาใจใส่ให้สูงขึ้น

     ๏   กระตุ้นให้ผู้รับบริการกล้าแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด

     ๏   กระตุ้นให้ผู้รับบริการให้ความร่วมมือ แข่งขัน และรู้จักแบ่งปันซึ่งกันและกัน

     ๏   ส่งเสริมทักษะการตัดสินใจ
 
ประเภทของกลุ่มการรักษาอาจแบ่งได้ 3 ประเภท

     1.   แบ่งตามลักษณะการรับสมาชิก

           ๏   กลุ่มเปิด (Open Group)

           ๏   กลุ่มปิด (Closed Group)

     2.   แบ่งตามเทคนิคการดำเนินกลุ่ม ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

           ๏   กำหนดโครงสร้าง

           ๏   ไม่กำหนดโครงสร้าง

     3.   แบ่งตามวัตถุประสงค์
 
บทบาทหน้าที่ของทีมผู้บำบัด

     กลุ่มกิจกรรมจะต้องทำงาน กันเป็นทีม กลุ่มจะสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการทำงานร่วมกันของทีม ผู้บำบัดและสมาชิกของทีมในขณะนั้น
 
สมาชิกทีมผู้บำบัดประกอบด้วย

     ๏   ผู้นำกลุ่ม (Leader)

     ๏   ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม (Co-leader)

     ๏   ผู้บันทึก (Recorder)

     ๏   ผู้สังเกตการณ์ (Observer)
 
ผู้นำกลุ่ม (Leader) มีหน้าที่ คือ

     ๏   วางแผนการจัดกลุ่ม

     ๏   ติดต่อประสานงานกับทีมผู้บำบัด เกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่

     ๏   ร่วมคัดเลือกและประเมินผู้ป่วยก่อนเข้ากลุ่ม

     ๏   ดำเนินกลุ่ม

     ๏   ประเมินผลกลุ่มและเสนอแนะ
 
ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม (Co-leader)

     มีหน้าที่ ช่วยเหลือผู้นำกลุ่มในกรณีที่ผู้นำกลุ่มไม่สามารถดำเนินกลุ่มได้ ผู้นำกลุ่มกับผู้ช่วยผู้นำกลุ่มจะต้องาตระหนักซึ่งกันและกันเพื่อให้กลุ่ม ดำเนินไปด้วยดี
 
ผู้บันทึก (Recorder)

     มีหน้าที่บันทึกการดำเนิน กลุ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินกลุ่มและประเมินผล ผู้บันทึกอาจเป็นผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม ผู้บันทึกกลุ่ม หรือผู้สังเกตการณ์ก็ได้
 
ผู้สังเกตการณ์ (Observer) มีหน้าที่

     ๏   สังเกตการณ์ดำเนินกลุ่ม

     ๏   บันทึกการดำเนินกลุ่ม

     ๏   ประเมินผลและเสนอแนะ
 
ทักษะของผู้นำกลุ่ม

     ผู้นำกลุ่มที่จะดำเนินกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรรู้จักที่การกระทำดังต่อไปนี้

     ๏   การริเริ่ม (Initiating)

     ๏   การเอื้ออำนวย (Facilitating)

     ๏   การรักษากฎ (Rule-keeping)

     ๏   การเข้าแทรก (Intervening)

     ๏   การเป็นตัวแบบ (Modeling)

     ๏   การฟังอย่างตั้งใจ (Active listening)

     ๏   การตั้งคำถาม (Questioning)

     ๏   การสะท้อนเนื้อหา (Restating)

     ๏   การสะท้อนความรู้สึก (Reflecting feeling)

     ๏   การเงียบ (Dialing with silence)
 
การเตรียมตัวเป็นผู้นำ

     ๏   เรียนรู้ตัวเอง

     ๏   ความรู้ ความชำนาญ

     ๏   จะทำกลุ่มอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำทำไม ใครเป็นสมาชิกกลุ่ม

     ๏   วางเป้าหมายหลัก

     ๏   จัดสถานที่

     ๏   จัดกิจกรรม อุปกรณ์

     ๏   วิธีคิดวางเป้าหมายและกิจกรรมกลุ่ม

     ๏   ผู้นำฝึกพูด ฝึกสังเกต ฝึกสรุป จับประเด็น

     ๏   ก่อนลงมือปฏิบัติการ เลือกผู้ช่วย เลขานุการ

     ๏   ทำ Pre group คือประชุมก่อน

     ๏   คัดกิจกรรมเผื่อไว้ก็ดี

     ๏   ทำแผนไว้ล่วงหน้ามาก ๆ

     ๏   เตรียมสมุดบันทึกทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่ม

     ๏   Post group

     ๏   เกิดการเรียนรู้อะไร

     ๏   ภูมิใจในความสำเร็จของเรา
 
ประเภทของกลุ่มกิจกรรมบำบัด

     ๏   กลุ่ม สุขศึกษา      
                                                                         
     ๏   กลุ่ม อ่านหนังสือและวิจารณ์ข่าว

     ๏   กลุ่มเขียน จดหมาย                        
                                                
     ๏   กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพและความทรงจำ

     ๏   กลุ่มภาพสะท้อน                
                                                            
     ๏   กลุ่มวาดภาพ

     ๏   กลุ่มประชุมบุคลากร     
                                                                    
     ๏   กลุ่มก่อนกลับบ้าน

     ๏   กลุ่มชุมชนบำบัด   
                                                                          
     ๏   กลุ่มศาสนา

     ๏   กลุ่มอาชีวะบำบัด    
                                                                         
     ๏   กลุ่มนันทนาการบำบัด

     ๏   กลุ่มกายบริหาร     
                                                                          
     ๏   กลุ่มกีฬาในร่ม

     ๏   กลุ่มกีฬากลางแจ้ง      
                                                                     
     ๏   กลุ่มละครจิตบำบัด

     ๏   กลุ่มครอบครัวบำบัด
 
ระยะเวลาการทำกลุ่ม

     ๏   กลุ่มขนาดเล็กสมาชิกประมาณ 8-12 คน ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที เช่น กลุ่มอ่านหนังสือพิมพ์ กลุ่มวาดภาพ

     ๏   กลุ่มขนาดกลางสมาชิกประมาณ 20-30 คน มีการฝึกสมองและความว่องไว ซึ่งทำให้เกิดความสนุกสนานใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เช่นกลุ่มกีฬาในร่มกีฬากลางแจ้ง

     ๏   กลุ่มขนาดใหญ่ สมาชิกประมาณ 30-50 คน หวังผลในการผ่อนคลายความตึงเครียด และให้เกิดความสนุกสนาน เช่นกลุ่มนันทนาการ
 
ขั้นตอนการดำเนินกลุ่ม

     1.   ขั้นเตรียมการ

           ๏   เลือกผู้ช่วย ผู้สังเกตการณ์ ผู้บันทึก

           ๏   สถานที่ทำกลุ่ม

           ๏   อุปกรณ์ (ถ้ามี)

     2.   ขั้นดำเนินการ

           ๏   เปิดประชุมกลุ่ม

                -   กล่าวคำสวัสดีแก่สมาชิก

                -   แนะนำตัว

                -   แนะนำผู้ช่วย

                -   สมาชิกแนะนำตัวเอง

           ๏   บอกวัตถุประสงค์ กฎกติกา

           ๏   อธิบายอุปกรณ์และเข้าสู่เนื้อหาขบวนการกลุ่ม

     3.   สรุปกลุ่ม
 
ขอขอบคุณ http://ward1.igetweb.com/
Visitors: 309,343