4 วิธีพัฒนา EQ ลูก
4 วิธีพัฒนา EQ ลูก
1. การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness)
อันดับแรกของเทคนิควิธีพัฒนา EQ ลูก คือ การสอนให้ลูกรู้จักการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) การตระหนักรู้ในตนเองเป็นขั้นตอนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และคุณควรเริ่มสอนให้ลูกมีการตระหนักรู้ในตนเองตั้งแต่ยังเล็ก เด็กควรรู้ว่าตัวเองมีความสามารถพิเศษ ความถนัด ข้อดี และข้อเสียอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถช่วยให้ลูกรู้ว่าเขามีความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ด้วยการ บอกว่า "ลูกก็ทำได้นะ" เมื่อเขาพยายามทำสิ่งต่างๆ
2. การยอมรับตนเอง (Self-acceptance)
หลังจากสอนให้ลูกรู้จักการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) แล้ว ลำดับต่อมาก็คือ การสอนให้ลูกรู้จักการยอมรับตนเอง หรือ Self-acceptance ซึ่งจะว่าไปแล้วการยอมรับตนเองนั้นเป็นสิ่งที่พูดได้ง่ายกว่าทำ เพราะมันหมายถึงการที่คุณต้องสอนให้ลูกรู้จักยอมรับข้อจำกัดและข้อเสียของตน เอง โดยเฉพาะข้อเสียที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ด้วย การสอนให้ลูกรู้จักการยอมรับตนเองนั้นก็ทำไม่ได้ยาก เริ่มได้ง่ายๆ ที่ตัวคุณพ่อคุณแม่เอง เมื่อคุณทำอะไรผิดก็พูดขอโทษให้ลูกได้ยิน หรือพูดขอโทษต่อหน้าลูก เด็กๆ จะเรียนรู้พฤติกรรมการยอมรับข้อผิดพลาดและ ยอมรับข้อด้อยของตนจากพ่อแม่ พ่อแม่เองก็ต้องอย่าลืมให้ลูกพูดคำขอโทษเมื่อลูกทำสิ่งผิดพลาดด้วยเช่นกัน
3. การตระหนักในคุณค่าของตนเอง (Self-worth)
เทคนิควิธีพัฒนา EQ ลูกลำดับต่อไปคือการสอนให้ลูกรู้จัก Self-worth หรือ การตระหนักในคุณค่าของตนเอง เราไม่สามารถมีการตระหนักในคุณค่าของตนเองได้ หากไม่รู้จักการยอมรับตนเอง (Self-acceptance) เสียก่อน คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างการตระหนักในคุณค่าของตนเองให้กับลูกได้ตั้งแต่พวก เขายังเด็ก โดยอนุญาตให้เด็กๆ ตัดสินใจเรื่องหลายเรื่องด้วยตนเอง เช่น จะทานอะไรดี จะใส่เสื้อผ้าแบบไหนดี อีกหนึ่งวิธีที่จะสร้างการตระหนักในคุณค่าของตนเองให้กับลูกได้ ก็คือ การให้ลูกทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้สำเร็จด้วยตนเองโดยที่คุณไม่ต้องเข้าไป ช่วย หรือแนะนำอะไร เมื่อทำงานนั้นๆ ได้สมบูรณ์แล้ว ลูกจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ว่าเขาประสบความสำเร็จแล้วนะ
4. การสร้างมโนภาพแห่งตน (Self-concept)
เทคนิควิธีพัฒนา EQ ลูกลำดับสุดท้าย คือการสร้างมโนภาพแห่งตน หรือ Self-concept ในเชิงบวกให้กับลูก โดยมโนภาพแห่งตนหมายถึงแนวคิดหรือมุมมองทั้งหมดที่บุคคลนั้นๆ มองตนเอง หรือ ทัศนคติโดยรวมที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีต่อตนเองนั่นเอง การสอนให้ลูกมองตนเองในเชิงบวกนั้นก็ไม่ยาก พยายามบอกเขาบ่อยๆ ว่า "ทำดีแล้ว" "ทำต่อไปลูก" "ดีแล้ว" หรือ "ลองทำดูอีกครั้งสิจ๊ะ" การบอกเช่นนี้กับลูกบ่อยๆ เมื่อเขากำลังพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จเป็นการช่วยเสริมสร้างความ มั่นใจให้กับลูกด้วยในทางหนึ่ง ทำให้เด็กๆ รู้สึกมั่นใจในสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ด้วย
เมื่อลูกของคุณมีทั้งการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) การยอมรับตนเอง (Self-acceptance) การตระหนักในคุณค่าของตนเอง (Self-worth) และ มโนภาพแห่งตนในเชิงบวก (Positive self-concept) แล้ว พวกเขาก็จะมีพัฒนาการด้าน EQ หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ที่ดีตามไปด้วย นอกจากนี้พวกเขาจะรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเข้ากับคนอื่นได้ง่ายด้วย
ขอขอบคุณ http://th.theasianparent.com/4-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2-eq-%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81/