จิตวิทยาเกี่ยวกับผู้ติดยาเสพติด

 

จิตวิทยากับผู้ผ่านการบำบัดรักษา



      จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนการความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยมุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ


      จิตวิทยากับผู้ผ่านการบำบัดรักษา จึงหมายถึง การเรียนรู้ที่จะนำเสนออธิบายถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรมกับจิตใจของผู้ป่วย ยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษาแล้ว เพื่อการดูแลสนับสนุนหรือช่วยเหลือให้ผู้ป่วยธำรงไว้ซึ่งการหยุดใช้ยาและมีชีวิตที่ปกติสุข เรียนรู้การใช้ยา ผู้ป่วยมีปัญหาหาทางออกไม่ได้ มีโอกาสใช้ยา ใช้ยาแล้วลดความเครียด มีความสุข ประทับใจ ติดใจ (สมองติดยา)


      ปัญหาจากการใช้ยา

 

1.ปัญหาเดิมที่แก้ไขไม่ได้

 

2.ปัญหาใหม่

 

3.ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา

 

4.ปัญหาทางกฎหมาย

 

5.ปัญหาทางเศรษฐกิจ

 

6.ปัญหาอาการทางกายและจิตใจ


      นำมาซึ่งความสับสนวุ่นวาย ยุ่งเหยิง จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่สามารถแก้ได้ จึงเปลี่ยนแปลง / พัฒนา เป็นพฤติกรรมของผู้ใช้ยาเสพติด หลักการดูแลเบื้องต้นของจิตวิทยากับผู้ใช้ยา คือ พูดคุยกับเขาอย่างตรงไปตรงมา เริ่มจาก

 

  • สะท้อนถึงสุขภาพที่เสื่อมโทรม

     

  • อารมณ์จิตใจที่เปลี่ยนแปลง

     

  • การเรียน การงานที่แย่ลง

     

  • แสดงความห่วงใย

     

  • จริงใจรับฟัง

     

  • ชวนมองหาสาเหตุของปัญหา

     

  • เสนอการช่วยเหลือ โดยมีสัมพันธภาพเป็นต้นต่อสำคัญของการช่วยเหลือการดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดในหลักจิตวิทยาการดูแล

     

ประการที่  1  การมองผู้ป่วยที่ผ่านการบำบัดแล้ว

 

-ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาต่อเนื่อง

 

-มีความเฉพาะราย

 

-การช่วยเหลือดูแลใช้วิธีการที่หลากหลาย

 

-มีเป้าหมายที่การฟื้นสภาพปกติ

 

-มีการปรับเปลี่ยนได้เสมอในวิธีการดูแลช่วยเหลือ

 

-อุปสรรคอยู่แค่การมองเพียงพฤติกรรม

 

-การทำความเข้าใจที่ครอบคลุม (องค์รวม)

 

-ความเชื่ออย่างผิดๆ ทำให้เกิดอุปสรรค ปิดโอกาสช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยไม่มีทางเลือก ถูกมองเป็นประชากรชั้นสอง เขาไม่มีทางเลือก

 

-มองถึงครอบครัวด้วย

 

ประการที่  2  การมองเพื่อช่วยเหลือ

 

  • เริ่มที่มิตรไมตรีสัมพันธ์

     

  • เอาใจใส่

     

  • สังเกตุ

     

  • เพิ่มพูนพัฒนา

     

  • ลงทุนเวลา

     

  • ไม่เผลอคิด

     

  • การให้เกียรติอย่างหวังดี

     

  • ความโปร่งใสจริงใจ

     

  • ความสมดุลที่สมบูรณ์

     

ประการที่  3  การช่วยเหลือผู้ผ่านการรักษา

 

-เอาใจใส่ใกล้ชิด

 

-เข้าใจความรู้สึก

 

-ยอมรับในทุกสิ่ง

 

-สื่อสาระ

 

-การช่วยให้ความกระจ่าง

 

-ความเข้าใจพร้อมเห็นใจ

 

-การเผชิญความจริงอย่างสร้างสรรค์

 

-การทบทวนและติดตามดูแล

 

-การสร้างแรงจูงใจ / ค้นหาจุดเด่น จุดดี

 

-ใช้ความซื่อสัตย์

 

-เป็นที่พึ่งของผู้ป่วย

 

ขอขอบคุณ  http://www.sdtc.go.th/paper/354

 

Visitors: 309,312