พัฒนาความคิดเพื่อให้ชีวิตมีความสุข

พัฒนาความคิดเพื่อให้ชีวิตมีสุข
   
   
     ปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับว่าเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อชีวิต แต่เศรษฐกิจไม่ควรมีอิทธิพลสูงสุดที่จะกำหนดความสุขของมนุษย์ ความสุขถ้าถูกล่ามไว้กับเศรษฐกิจหรือสิ่งโน้นสิ่งนี้ ความสุขก็พร้อมที่จะเคลื่อนตามสิ่งนั้นไป วิธีปลดพันธการให้ใจอิสระก็คือหันไปใช้ “ความคิด”เป็นตัวกำหนดความสุข ถ้าอยากมีความสุขจึงต้องพัฒนาความคิด
   
   
วิธีพัฒนาความคิดเพื่อให้ชีวิตมีสุข
   
1.  คิดด้านประโยชน์ของความทุกข์ ประสบการณ์หรือสถานการณ์เลวร้าย ส่วนมากไม่เลวร้ายเท่าที่เราคิด ความทุกข์จะน้อยลงถ้ารู้จักคิดด้านประโยนช์ของประสบการณ์หรือสถานการณ์เหล่า นั้นจะเป็นการกระตุ้นให้ตื่นตัว ศึกษาหาข้อผิดพลาด หาทางพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการฝึกให้เกิดการเรียนรู้ การปรับตัวต่อความทุกข์ ความไม่สบายใจ
   
2.  คิดหาเหตุผลหลาย ๆ ทาง การคิดหลาย ๆ ทาง เป็นการให้โอกาสแก่ตนเองและผู้อื่น ทำให้เป็นผู้มีเหตุผลและมีความยุติธรรม การคิดด้านเดียวคือ ด้านลบ ทำให้ไม่มีความสุข พัฒนาความคิดใหม่ โดยคิดด้านบวกทุกครั้งกับทุกเหตุการณ์ ฝึกคิดบ่อย ๆ จนติดเป็นนิสัย ตัวท่านเองก็จะมีความสุข ผู้คนรอบข้างก็สบายใจ
   
3.  ไม่คิดแก้อดีต การคิดแก้อดีตทำให้เกิดความไม่พอใจในชีวิตประจำวัน ทำให้โกรธ น้อยใจ เช่น คิดว่าทำไมเกิดมาตัวเตี้ย การคิดอย่างนี้ยากที่จะมีความสุขได้ พัฒนาความคิดเสียใหม่คิดว่าตัวเตี้ยก็จริงเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ แต่ถ้าคุณสมบัติอื่น ๆ เช่นคุณเป็นคนอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจ ทำงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีค่ามากว่าเป็นคนสูงเป็นไหน
   
4.  ไม่คิดอย่างคนพายเรือในอ่าง การคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งตลอดเวลาซึ่งไม่มีความสุขเพราะคิดวนไปเวียนมา เหมือนพายเรือในอ่าง หาข้อยุติไม่ได้ จึงแก้ไขปัญหาไม่ตก ประเด็นนี้ไม่ต้องห้ามความคิด ตรงกันข้ามให้คิดต่อไป แต่คิดอย่างใช้สติปัญหาเพื่อทางแก้ไขปัญหาได้
   
5.  คิดเรื่องปัจจุบันให้มากที่สุด บางคนใช้เวลาครึ่งหนึ่งของชีวิตคิดเรื่องอดีตไม่มีวันกลับมาให้เวลาอีกครั้ง ของชีวิตคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงไม่มีเวลาให้แก่ปัจจุบันอันเป็นเวลาที่มี ความสำคัญที่สุดจะทำให้ชีวิตมีความสุข สังเกตคนที่มีความสุข จะเห็นว่าเขาให้เวลาปัจจุบันคุ้มค่าเสมอ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์แก่ตนเอง และผู้อื่นให้มากที่สุด
   
   
สุขทั้งกายและใจในวัยสูงวัย
 
     ความเป็นผู้สูงอายุเริ่มต้นอายุเท่าไรนั้นมันไม่สำคัญที่ตัวเลข แต่การเกษียณอายุราชการในประเทศไทยถือว่าอายุครบ 60 ปี เป็นวัยเกษียณอายุราชการ ขณะที่บางแห่งอาจกำหนดอายุ 55 ปี หรือ 65 ปี ก็ได้ ในทางการแพทย์ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมลงของร่างกายซึ่งอวัยวะต่าง ๆก็จะเสื่อมลงในเวลาไม่เท่ากัน อัตราการเปลี่ยนแปลงของแต่ละคน แต่ละกลุ่มแต่ละคน แต่ละกลุ่มชนแต่ละชนแต่ละเผ่าพันธุ์ไม่เท่ากัน บางคนอายุ 50 ปี ก็อาจจะดูทั้งร่างกายและจิตใจ ขณะที่บางคนอายุ 65 ปี ก็ดูไม่แตกต่างจากคน 50 ปีเท่าใดนัก ปัจจุบันผู้สูงอายุไทยมีแน้วโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีอายุยืนขึ้นเนื่องจากแพทย์และการสาธารณสุขที่ดีขึ้นนั่นเอง เพื่อความสุขทั้งกายและใจในวัยสูงอายุพึงปฏิบัติดังนี้
   
1.  รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์เป็นปกติอยู่เสมอ โดยการรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างเหมาะสม เลือกอาหารที่ย่อยง่าย ลดอาหารรสจัดไม่มีไขมันมาก เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลื่น รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำทุกปี หรือไปบพแพทย์ทุกครั้งเมื่อรู้สึกผิดปกติ
   
2.  ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสมีชีวิตชีวา ทำงานอดิเรกที่ชอบและถนัดตามความเหมะสมมีความศรัทธาและยึดมั่นในสิ่งที่ควร เชื่อ ใช้หลักคำสอนในศาสนาที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา ฝึกจิตใจ ปล่อยวาง แผ่เมตตา ปฏิบัติธรรม เพื่อให้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยอมรับในความเสื่อมของร่างกาย เพื่อทำให้จิตใจสงบเงือก
   
3.  ทำองค์ประกอบของชีวิตให้ดีขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ไม่ก่อหนี้ การลงมือทำกิจกรรมลงทุนใหม่ต่ออายุมากไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เครียด และความจำไม่ดีแล้ว โอกาสขาดทุนก็จะมีมาก การมีสังคมที่ดี เพื่อนที่ดีสำหรับปรับทุกข์และพูดคุยตลอดจนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่อยู่อาสัยบ้านช่องก็ควรจะสะดวก สะอาด อากาศดี สิ่งแวดล้อมที่ดี หลีกเลี่ยงความวับซ้อนทางเทคโนโลยี่ เครื่องมือใช้สอยส่วนตัวควรเรียบง่าย
   
4.  อย่าปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม พยายามทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน สนใจต่อเหตุการณ์รอบข้าง โดยการอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังข่าววิทยุ ดูโทรทัศน์
   
5.  สร้างจินตนาการที่ดีกับตัวเองทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต รู้จักให้อภัยพร้อมทั้งตั้งใรรักเพื่อนมนุษย์ตนให้มากขึ้น คิดดี ทำดี เพื่อให้เกิดประโยชน์เสทอไปตลอดเวลาไปไม่ว่าเราจะอายุเท่าไร ใครจะไม่รักจะเกลียดเราเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรารักตัวเองพร้อมที่จะรักคนอื่นได้มากขึ้นก็ดีแล้ว ความสุขก็จะมีมาเอง และจงยิ้มรับความสุขนั้นอย่างภาคภูมิใจการปฏิบัติที่ดีไม่เพียงแต่จะเป็น ประโยชน์สำหรับตัวเองเท่านั้น แต่ส่งผลต่อบุคคลรอบข้างไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและชุมชน ดำเนินชีวิตตามศักยภาพอย่างเป็นสุขทั้งกายและใจในวัยสูงอายุ

ขอขอบคุณ http://www.jvkk.go.th/jvkkfirst/story/general/48.htm

Visitors: 309,353