สมองติดยาเสพติด

สมองติดยาได้อย่างไร


     การติดยาเสพติดเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย จากการเสพยาเป็นครั้งคราว สู่การเสพที่ถี่ขึ้น จนเสพทุกวัน และวันละหลายครั้งเมื่อเสพยาบ้า หรือ สารแอมเฟตามีนเข้าสู่ร่างกาย สารแอมเฟตามีนจะไปกระตุ้นประสาทที่อยู่ในสมองส่วนกลาง ที่เรียกว่าส่วน Limbic system หรือ เรียกให้เข้าใจง่ายๆว่า สมองส่วนอยาก ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม โดยสารแอมเฟตามีน จะไปกระตุ้นปลายประสาทให้คลั่งสารโดพามีน (Dopamine) ออกมาจำนวนมาก


     ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกเป็นสุข พึงพอใจ หรือมีความคึกคักสนุกสนาน ในระดับที่เกินกว่าภาวะปกติของคนทั่งไป (บุคคลปกติจะมีการหลั่งสารโดพามีน ในระดับที่สมดุลจึงมีภาวะอารมณ์ ความรู้สึกที่เป็นปกติ ไม่สุข หรือซึมเศร้าเกินไป) ผู้เสพยาบ้าในระยะแรกจึงมีความรู้สึกเป็นสุขอย่างท่วมท้น หรือมีแรงมาก ทำงานได้มาก ไม่เหน็ดเหนื่อย แต่ภาวะเช่นนี้เป็นการกระตุ้นให้สมองและร่างกายถูกใช้พลังอย่างหนักเกินไป จึงพบว่า เมื่อหมดฤทธิ์ยา ผู้เสพจะมีความเหนื่อยล้า ซึมเศร้า และต้องการการกระตุ้นด้วยยาบ้าอีก เพื่อให้ได้พบกับภาวะที่เป็นสุขอย่างท่วมท้นเช่นนั้น แต่เมื่อผู้เสพยังคงเสพยาบ้าอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ปริมาณสารที่เคยเสพเท่าเดิมก็จะไม่ค่อยได้ผล จึงต้องมีการใช้ยาบ้าในประมาณที่มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ได้ผลเหมือนเดิม

     ในขณะเดียวกัน สมองอีกส่วนหนึ่ง คือ ส่วน Cerebral cortex ซึ่งอยู่ในสมองส่วนกลางเช่นกัน มีหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การตัดสินใจ การใช้ความคิดเป็นเหตุเป็นผล ก็จะถูกทำลายและถูกควบคุมโดยสมองส่วนอยาก มีผลทำให้ความสามารถในการคิด และความจำแย่ลง ไม่สามารถนึกคิดแยกแยะเหตุผล ถูกผิด ได้เหมือนกับคนปกติ จึงพบว่า ผู้เสพมักจะตกอยู่ใต้อิทธิพลของยาบ้า มีความคิด พฤติกรรม และอารมณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย ผู้เสพติดจะไม่สามารถควบคุมตนเองให้หยุดใช้สารเสพติดได้ และหากผู้เสพยังไม่เลิกเสพก็จะทำให้มีอาการทางจิต และเป็นโรคจิตในที่สุด

 

ขอขอบคุณ http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=4409

Visitors: 309,273